Page 385 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 385

317
และที่บอกว่า ต้องสังเกตเสมอว่าสภาวธรรมตอนนี้ต่างจากที่ผ่านมาอย่างไร ยิ่งตามรู้ยิ่งดู จิตยิ่ง ผ่องใสขึ้น อาการเกิดดับที่ปรากฏขึ้นต่อไปนั้นต่างจากเดิมอย่างไร... ความคิดเกิดดับในลักษณะอย่างไร ? ขณะที่จิตเราใสขึ้น เกิดดับแบบมีเศษหรือไม่มีเศษ ? ถ้าความคิดดับไปไม่มีเศษ ในแต่ละขณะ แต่ละขณะ แล้วอารมณ์อื่นที่เกิดต่อจากความคิด ? อย่างเช่น เมื่อจิตใสมากขึ้น จิตสว่างขึ้น ยิ่งตั้งมั่นมากขึ้น เสียงที่ ได้ยินที่กาลังปรากฏอยู่ในที่ว่าง ๆ เขาเกิดอยู่ในบรรยากาศของความใสความสว่างนั้นด้วยหรือเปล่า ? เป็น ความว่างที่สว่างที่ใสด้วยหรือเปล่า ? อันนี้อย่างหนึ่ง
แลว้ กส็ งั เกตวา่ เสยี งทไี่ ดย้ นิ เกดิ ดบั ตา่ งจากความคดิ นนั้ อยา่ งไร ? ถงึ แมจ้ ะตา่ งอารมณ์ แตล่ กั ษณะ ของอาการเกิดดับนั้นเป็นไปในลักษณะเดียวกัน หมายถึงว่าเกิดแล้วดับไป เกิดดับกระจาย เกิดดับ เลือนหาย ดับแบบเด็ดขาด มีเศษไม่มีเศษ ความคิดที่กาลังปรากฏขึ้นมาเกิดดับอย่างไร เสียงที่ได้ยิน ตอนนี้เกิดดับอย่างไร ต่างจากเดิมอย่างไร... เพราะสภาวธรรมอาการเกิดดับที่เป็นปรมัตถธรรมนั้น ไม่ได้ เรียกว่าเป็นความคิดหรือเสียง แต่แสดงอาการพระไตรลักษณ์คือการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เพียงแต่ อาศัยอาการของความคิดหรืออาศัยเสียงเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น เราจึงสังเกตความแตกต่างเปรียบเทียบ กันได้ว่าความคิดเกิดดับแบบนี้ เสียงเกิดดับแบบนี้ นั่นคือความต่อเนื่องของอารมณ์ของอาการ พระไตรลักษณ์
เวลาเราปฏิบัติธรรม ในบัลลังก์เดียว เราไม่ได้มีอารมณ์เดียว ไม่ได้มีแค่ความคิดอย่างเดียว ไม่ได้ มีแค่เสียงอย่างเดียว เพราะอารมณ์เหล่านี้จะสลับกันเกิดขึ้นมา เพราะฉะนั้น ถ้าสังเกตในลักษณะอย่างนี้ เราจะรู้ถึงความต่อเนื่องของสภาวธรรมและสภาวญานที่มีการเปลี่ยนไป จากสภาวญานหนึ่งไปสู่อีก สภาวญานหนึ่งก็จะเห็นชัด มีรอยต่อของแต่ละขณะต่างกันอย่างไร อย่างเช่น จากที่เราเคยเห็นอาการเกิด ดับแบบเร็ว ๆ ก็เปลี่ยนเกิดดับช้าลง ช้าลง ช้าลง... นั่นคือลักษณะความเปลี่ยนไปของอาการ เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัติทุกครั้ง ในการนั่งกรรมฐานทุกครั้ง จึงให้ใส่ใจสังเกตแบบนี้
ทีนี้ อย่างที่บอกแล้วเมื่อตอนกลางวันว่า เวลามันว่างไม่มีอาการอะไรปรากฏขึ้นมา บอกให้นิ่ง ในความว่าง นิ่ง ดูเข้าไปในความรู้สึกที่ว่าง ขออย่างเดียวว่าความว่างที่พูดถึงนี้เราต้องรู้ว่าคือจิตที่ว่างของ เราเอง คอื จติ ทวี่ า่ งหรอื ความรสู้ กึ ทวี่ า่ ง ไมใ่ ชอ่ ากาศวา่ ง ๆ ไมใ่ ชอ่ ากาศวา่ ง ๆ แตเ่ ปน็ ความรสู้ กึ ทวี่ า่ ง ทา ไม ถึงต้องย้าตรงนี้ ? เพราะว่าธรรมชาติของจิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่ว่า อากาศนั้นเป็นบัญญัติ บรรยากาศที่กว้าง ๆ ว่าง ๆ นั้นเป็นบัญญัติ การเปลี่ยนแปลงอาจจะไม่ชัดเจน หรือเปลี่ยนช้า เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้ว่าเป็นบรรยากาศของสภาพจิต เป็นจิตที่ว่าง เขาจะมีการเปลี่ยนแปลง อยู่เสมอ นี่คือธรรมชาติ จะสังเกตเห็นอาการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
ทีนี้ ก็จะเป็นปัญหาอยู่ว่า เมื่อจิตว่างไม่มีอะไร แล้วจะดูยังไง ? อันที่จริงที่เคยพูดเสมอว่า เมื่อไหร่ ก็ตามที่รู้สึกว่างเหมือนไม่มีอะไรตัวที่ทาหน้าที่รู้ถึงความว่างไม่มีอะไรนั่นแหละคือสิ่งที่เราต้องร!ู้ นั่นน่ะคือ ตัวจิต—จิตที่ทาหน้าที่รู้ว่าว่างแล้วก็ไม่มีอะไร จิตดวงนี้ที่ทาหน้าที่รู้ว่าว่างแล้วไม่มีอะไรก็ยังมีการเปลี่ยน แปลงหรือเกิดดับ เพราะฉะนั้น จึงต้องให้โยคีสังเกตดี ๆ ถ้าไม่มีอะไร... ไม่มีจริง ๆ ไหม ? ได้แต่บอกว่า


































































































   383   384   385   386   387