Page 829 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 829
761
สภาวะขั้นตอนต่างกัน แต่เหตุที่ต้องอาศัยเพื่อการพัฒนามากขึ้นใช้หลักการเดียวกัน เพราะฉะนั้น บางคนบอกให้นิ่งตรงนี้ สภาวะของเขาเปลี่ยนไปอย่างไร พอคนนี้มา ให้นิ่งปึ๊บ สภาวะจากที่ดีอยู่แล้ว เขาเปลยี่ นไปอยา่ งไร ดอี ยา่ งไรอกี ... เพราะฉะนนั้ การนงิ่ เปน็ วธิ กี ารเพมิ่ พลงั ใหก้ บั โยคแี ตล่ ะคน แตล่ ะขณะ ในสภาวะแต่ละขั้นตอน บางคนอาจารย์ให้เกาะติดกับอาการเกิดดับ เพราะว่าเวลาเห็นอาการเกิดดับเขา เกิดดับต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เวลากาหนด-เรากาหนดแบบตามแล้วก็ถอย ตามแล้วก็ถอย ตามแล้วก็ถอย... มันเป็นระยะแบบนี้เสมอ เพราะฉะนั้น โยคีก็เกิดความสงสัย เราก็ตามตลอด ทาไมอาจารย์ให้เกาะอีก มีสติรู้อยู่กับปัจจุบันแล้วทาไมถึงให้เกาะอีก!?
สังเกตดูว่า เวลาเราปฏิบัติ เวลาเรามุ่งไปที่อาการเกิดดับ พอมุ่งไปปุ๊บเดี๋ยวก็จะมีเข้า-ออกเป็น ระยะ ๆ แต่พอเกาะปุ๊บมันจะมีการแนบไปกับอาการแล้วเขาเกิดดับอยู่ที่เดียวกัน ให้ติดไปด้วยกันเสมอ เขาจะหลุดก็หลุด พอหลุดออกมาก็เข้าไปใหม่เกาะใหม่ ไม่ใช่ว่าเราจะเกาะได้ตลอดเวลา แต่ที่ให้มีเจตนา เข้าไปเกาะอาการ เพราะนี่คือสิ่งที่ต้องทาที่จะทาให้เรากาหนดได้ปัจจุบันมากขึ้น สภาวะเขาจะชัดเจนขึ้น แต่จะชัดเจนอย่างไรนั้นอีกอย่างหนึ่งนะ เกาะติดแล้วเขาจะเปลี่ยนไปอย่างไร ? เขาจะไม่เหมือนเดิมแบบ ตอนที่เรากาหนดมุ่งเข้าไปหรอก เกาะติด-เขาจะเปลี่ยนของเขาแน่นอน
กับบางทีที่รู้สึกว่าพอเข้าไปแล้วหาย เข้าไปแล้วหาย... เข้าไปแล้วเกาะติดไม่ได้ เกาะไม่ได้เพราะ เขาหายก่อน ถามว่า ผิดไหม ? นั่นไม่ผิดเลย เพราะว่าอาการตอนแรกเขาเกิดดับต่อเนื่อง เราก็มุ่งแล้วก็ ถอยมา แต่พอจะเข้าไปเกาะปุ๊บเกาะไม่ได้ เพราะอะไร ? ตรงนี้ที่ต้องสังเกตว่า พอจะเข้าไปเกาะ เขาดับ เด็ดขาดกว่าเดิม ดับเร็วกว่าเดิม จบเร็วกว่าเดิมหรือเปล่า ? นั่นคือสิ่งที่โยคีต้องรู้ว่าเมื่อจะเข้าไปเกาะ อาการเกิดดับ เขาเปลี่ยนเป็นแบบนี้ แบบนี้... เล่าตามนั้นอย่างเดียว ไม่ผิด ไม่ต้องไปห่วงว่าเกาะไม่ได้ ประเด็นก็คือว่าให้ใช้วิธีเกาะติดอาการ อาการเขาจะเปลี่ยนเอง
เพื่อให้ใส่ใจแบบนี้บ่อย ๆ เมื่ออารมณ์นี้หมดไป พอเปลี่ยนเป็นอารมณ์ใหม่ เป็นเสียงขึ้นมา... สมมติว่า เราได้ยินเสียงดังอยู่นู่นไกล ๆ จุดกาเนิดของเสียงห่างไปสัก ๑๐๐ เมตร แต่ลักษณะอาการ เกิดดับมาปรากฏข้างหน้า ดังปั้งที่นู่น-ข้างหน้าวาบขึ้นมา ตรงนั้นแหละเขาเรียกว่าอาการเกิดดับของ เสียง/อาการเกิดดับที่อาศัยเสียง ถึงแม้จะไม่พร้อมกับเสียงแต่มันปรากฏชัดในความรู้สึกเรา ปั้งแล้ว วาบ ปั้ง-กระจาย ปั้ง-วุบหาย ปั้ง-วุบหาย... ชัดในความรู้สึกของเรา นั่นคืออาการเกิดดับของเสียง เพราะ อาศัยเสียง ทาไมถึงเรียกว่าอาศัยเสียง ? เพราะว่าพอเสียงหยุดปุ๊บ อาการวาบนี้เป็นไง ? หายไปด้วย ไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น พอได้ยินเสียงแล้วอาการเกิดดับนี้ปรากฏ แสดงว่าอาการนั้นเป็นอาการเกิดดับ ของเสียง...
...ไม่ใช่แค่แสดง เราต้องสังเกตให้ชัดเลยว่า พอมันปั้งตรงนั้น-ตรงนี้วาบขึ้นมา อาการเกิดดับของ เสียงปรากฏชัดในบรรยากาศของความรู้สึก แล้วโยคีจะมีคาถามว่า เราจะกาหนดอะไรดี ? เราจะกาหนด เสียง หรือกาหนดอาการข้างหน้าดี ? สองอย่างนี้จาเป็นต้องเลือกไหม ? เราอาศัยเสียง ตอนแรกได้ยินเสียง แล้วอาการเกิดดับมาปรากฏข้างหน้า ขณะนั้นเราทาอย่างไร ? นี่คือสิ่งที่ต้องรู้ เราก็สังเกตแบบนั้นต่อไป