Page 26 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การเจาะสภาวะ
P. 26

204
สังเกตไหม เราอาศัยแค่ลมหายใจของเรา แค่มีเจตนาเข้าไปกาหนดรู้ให้ละเอียดใส่ใจให้มากยิ่งขึ้น พัฒนาสติ-สมาธิ-ปัญญาของเราได้อย่างไร ? อาการของลมหายใจเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ โดยไม่ต้อง ปรุงแต่ง แต่การเห็นการเกิดดับการเปลี่ยนแปลงของลมหายใจจะส่งผลต่อปัญญาของเรามากกว่าที่ เราคดิ ตรงทวี่ า่ พอเราเจาะสภาวะมากขนึ้ ๆ สนใจอาการเกดิ ดบั มากขนึ้ จากทลี่ มหายใจเปน็ กลมุ่ พอรอู้ าการ เกิดดับไป ทาไมอาการของลมหายใจว่างไปหายไปได้ทั้ง ๆ ที่ยังหายใจอยู่ ? ตรงนี้เป็นการคลายอุปาทาน แล้วนอกจากลมหายใจหายไป พอเรามาสารวจดูตัวที่นั่งอยู่ ตัวหายไปด้วยไหม ?
การเจาะสภาวะแบบนี้ พอจิตเห็นสภาวธรรมที่ละเอียดขึ้น เขาจะคลายจากอุปาทาน เขาจะไม่ยึด ความเปน็ กลมุ่ กอ้ น แลว้ พอไปดทู รี่ ปู รปู กว็ า่ งไปหายไปหรอื จางไปบางไป เราไมไ่ ดล้ มื วา่ เรานงั่ อยู่ แตเ่ ขา้ ไป สารวจแล้วรูปหายไป นี่คือความพิเศษของจิตเรา นี่คือการพัฒนา ไม่ใช่ว่าเราลืมหรือไม่ใส่ใจ ที่บอกว่า “คิด ว่าไม่ใช่ของเราแล้วลืมมันเสีย” กับ “เห็นว่าไม่มีเราแล้วรูปหายไป” ให้ความรู้สึกแตกต่างกัน จิตจะแตกต่าง กัน สติจะแตกต่างจากการที่เราลืม เหมือนกับไม่ต้องไปใส่ใจ ไม่ต้องห่วง เพราะฉะนั้น การเจาะสภาวะเรา ได้เห็นอะไร ? ยิ่งกาหนดยิ่งใส่ใจเกาะติดกับอาการตรงนี้มากขึ้น กลับเห็นความจริงมากขึ้น เห็นอะไร ? ความว่างเปล่า
เราเคยได้ยินว่ารูปนี้เป็นของว่างเปล่า ไม่มีแก่นสาร ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการยึดมั่น อาศัยได้แต่ยึดไม่ ได้ เราอาศัยรูปนามนี้เพราะเขาเกิดขึ้นแล้ว แต่เมื่อสติสมาธิแก่กล้า ปัญญาเกิดขึ้น กลับเห็นรูปว่างเปล่า แล้วถ้าเห็นรูปว่างเปล่าบ่อย ๆ จนเป็นเรื่องปกติ จิตเห็นความชัดเจนตรงนี้ นั่นหมายถึงว่าปัญญาเราคมชัด อุปาทานไม่เกิด ดูเมื่อไหร่ก็ว่างเปล่า ว่างเปล่า... แล้วถึงจะบอกให้จิตเข้าไปยึด ยังไงเขาก็ไม่ยึด เพราะรู้เมื่อ ไหร่เขาก็ว่าง ไม่มีอะไรให้ยึดเลย นี่คือตัวปัญญา เขาเรียก “ภาวนามยปัญญา” ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการ เห็นว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ แล้วไม่ต้องไปบอกหรอกว่า “อย่าไปยึดนะ!” เขาไม่ยึดเองเพราะไม่มีอะไรให้ยึด นี่แหละคือการเจาะสภาวะเข้าไปกาหนดรู้ถึงสภาวธรรมที่เกิดขึ้น
ที่บอกว่า “การที่เราเจาะสภาวะเพื่อขัดเกลาจิตใจของเรา” ตรงไหนที่เป็นการขัดเกลาจิตใจ ? ยิ่ง(เข้าไป)รู้ ลมหายใจหายไป ตัวหายไป ถามว่า จิตใจตรงนั้นเป็นอย่างไร... เขาสะอาดขึ้นไหม ผ่องใสขึ้น เบาขนึ้ ไหม ? เขาคลายอปุ าทาน จติ เรากร็ สู้ กึ ผอ่ งใสเบกิ บานขนึ้ ... เขาขดั ยงั ไง ? กข็ ดั ตอนทเี่ ราเขา้ ไปรอู้ าการ เกิดดับการเปลี่ยนแปลงนั่นแหละ สังเกตไหม เรากาหนดลมหายใจเข้าไป ยังไม่ได้บอกว่าเป็นกิเลส โลภะ โทสะเลย แต่จิตก็ผ่องใสขึ้น สะอาดขึ้น เบาขึ้น โปร่งขึ้น อิสระขึ้น เพราะคาว่า “กิเลสหรือตัว เกาะ” คืออะไร ? คือความไม่รู้ คือความไม่เข้าใจ เพราะไม่รู้ว่ารูปนี้เป็นอนัตตา จึงเข้าไปยึดว่าเป็นของเรา กลายเป็นอัตตา
พอเข้าไปเห็นความจริง เห็นการเสื่อมไปสลายไป เห็นการเกิดแล้วดับไปว่างไป กลายเป็นปัญญา หรือวิชชาเกิดขึ้น เมื่อได้เห็นความจริงตรงนั้น สิ่งที่เกาะอยู่ในจิตใจคือความหลงความเข้าใจผิดคิดว่าเป็น เราก็คลายไป เมื่อแสงสว่างเกิดขึ้นความมืดก็ดับไป กลายเป็นว่าพอเห็นความจริงตรงนี้จิตจึงรู้สึกผ่องใส อิสระขึ้น เบา โล่ง สบายขึ้น สังเกตไหม เมื่อจิตเห็นว่าไม่มีอะไรให้ยึดเขาจึงไม่ยึด แต่ความคิดของเรา/


































































































   24   25   26   27   28