Page 28 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การเจาะสภาวะ
P. 28
206
กาลังคิดอยู่นั้นเขามีอาการอย่างไร ดับอย่างไร... เข้าไปรู้ข้างในอีก ละเอียดขึ้นอีก ความคิดเวลาเขาจะ เกิดเขามีอาการอย่างไร กลายเป็นฝึกจิตของตนเองให้ละเอียดขึ้น ๆ พอเราเห็นจิตตัวเองแบบนี้บ่อย ๆ สติ มากขึ้น สมาธิมากขึ้น ก็จะรู้ทันอารมณ์ทันกิเลสของตน เวลาความอยากผุดขึ้นมา จะเห็นชัดว่า อ๋อ! กิเลส มันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลานะ กิเลสเกิดได้เป็นอกาลิโกเหมือนกันนะ ธรรมะเป็นเรื่องของอกาลิโก เกิดขึ้นได้ ตลอดเวลา กิเลสก็เกิดได้ตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่ปัญญาไม่มา กิเลสก็มาแล้ว รู้ไม่ทันว่ากิเลสมา
ถามว่า ของหยาบกับของละเอียดอันไหนดับเร็วกว่ากัน ? โดยธรรมชาติอะไรที่เป็นของละเอียดก็ จะดับเร็ว ถ้าเราไปรู้กิเลสตอนที่เขากาลังเกิด จิตเราละเอียดขึ้น เห็นกิเลสละเอียดดับ ไม่ต้องใช้กาลังเยอะ สังเกตไหมว่าที่เราดับความโกรธยากเพราะอารมณ์มันหยาบ แต่ถ้าความโกรธเริ่มผุดนิดหนึ่ง พอมีสติรู้ทัน เขาก็ดับทันที นั่นแสดงว่าความโกรธมันเบาบางมันละเอียด เวลาความรู้สึกไม่พอใจเกิดขึ้นนิดหนึ่ง เรา เห็นชัด นิดหนึ่งเขาก็ดับ นิดหนึ่งก็ดับ... อายุเขาสั้นลง เขาก็ดับเร็วขึ้น แล้วเราจะเห็นว่าจริง ๆ แล้วไม่ว่า กเิ ลสตวั ไหนเขากท็ า หนา้ ทแี่ คน่ แี้ หละ แตท่ เี่ ขาทา หนา้ ทนี่ านเพราะสตเิ ราไมด่ กี า ลงั เราไมพ่ อ เรามวั แตค่ ลกุ คลี อยู่กับความหยาบอยู่กับอารมณ์บัญญัติ กลายเป็นว่ามันก็เลยครอบคลุมเราหมด
เหมือนกับที่บอกว่ายกจิตขึ้นสคู่วามวา่งทาจิตของเราใหว้า่งให้กว้างคลุมตัวได้แตส่ังเกตดูในขณะ เดียวกัน เวลากิเลสเกิดขึ้นหรืออกุศลเกิดขึ้นแล้วครอบคลุมตัวเราทั้งหมด เคยเห็นไหมว่า เวลาเขาคลุมตัว เราทั้งหมด รู้สึกเป็นอย่างไร ? บางทีเรารู้สึกว่ามืดแปดด้าน นึกอะไรไม่ออกหรอก มืดสลัวไปหมดเลย ข้าง หนา้ กส็ ะลมึ สะลอื ขา้ งหลงั กต็ อื้ ไปหมด ขา้ งบนกไ็ ปไมไ่ ด.้ .. นคี่ อื ถกู ครอบงา ดว้ ยอกศุ ลหรอื อวชิ ชา ไมว่ า่ จะ ถูกครอบงาด้วยโลภะ โทสะ หรือโมหะ ถ้าเป็นโมหะก็จะตื้อ ๆ เบลอ ๆ เฉื่อย ๆ เฉย ๆ แต่พอยกจิตขึ้นสู่ ความว่าง ให้จิตกว้างปึ๊บ ไอ้ตัวที่คลุมอยู่จะคลายไป เปลี่ยนเป็นความใสห่อหุ้มหรือคลุมตัว เป็นกาลังของ สติ เป็นกาลังของสมาธิ ทาให้ปัญญาเราปรากฏขึ้นมารู้ชัดในอาการที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น การเจาะสภาวะจึงเป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่ง นอกจากเห็นอาการพระไตรลักษณ์นอกจาก เห็นอาการเกิดดับ ทุกครั้งที่สังเกตแบบนี้ได้ประโยชน์อะไร ? ขณะนี้ลองดูว่า สภาพจิตใจรู้สึกยังไง ? เบา สบาย เข้าไปดูข้างในจิตที่สบายอีก เจาะเข้าไป เข้าไปข้างในความสบายนั้น ลึก ๆ แล้วรู้สึกเป็นไง ? ยิ่งดู เข้าไปในจิตที่สบายแต่ละครั้ง จิตที่สบายรู้สึกเป็นไง ? เบาขึ้น เข้าไปในจิตที่เบาสบายอีก ข้างในนั้นรู้สึก ยังไง จิตที่เบาสบายกว้างแค่ไหน ? ลองเข้าไปดูอีก จิตที่เบาสบายมีกิเลสตัวไหน จิตที่เบาสบายมีตัวตน ไหม ? พอเห็นแบบนี้เรื่อย ๆ รู้สึกเป็นไง ? นี่คือการเจาะสภาวะ
คาถามว่า “ทาไมต้องเจาะสภาวะ ?” ก็เพื่อจะได้เห็นจิตตัวเองชัดขึ้น ๆ แค่ “เข้าไปรู้” ทาไมเห็นเขา ใสขึ้นเห็นเขาเบาขึ้นได้ ? เข้าไปรู้จิตที่เป็นอยู่ที่เกิดขึ้นแล้ว เข้าไปรู้ให้ชัด ไม่ใช่แค่มองดูห่าง ๆ ถ้าเรามองดู ห่าง ๆ เราก็คิดว่าจิตเราเป็นแค่นี้แหละ จริง ๆ แล้วข้างในลึก ๆ จิตเรายังพิสดารยังดีกว่านี้เยอะ เพียงแต่ เราใส่ใจเข้าไปรู้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งเข้าไปดู “จิตยิ่งเบาสบายยิ่งละเอียดขึ้น” เป็นความละเอียดอ่อน หรือ เปน็ ความผอ่ งใส หรอื เปน็ ความนมิ่ นวลอยใู่ นนน้ั เพราะฉะนนั้ การเขา้ ไปรจู้ ติ ทดี่ ขี นึ้ เราจะไมต่ ดิ ดตี อนแรก เพราะยังมีดี “ขึ้นไป” อีก ก็รู้ต่อไปเรื่อย ๆ เขาใสขนาดนี้แล้วยังมีดีกว่านี้อีกไหม ? ยังมีนะ! มันว่างขนาดนี้