Page 30 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การเจาะสภาวะ
P. 30
208
ความคิดก็ไม่เครียดแล้ว เพราะเขาแยกออกมาก็เห็นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเห็นว่าคิดแล้วเขาดับ ที่บอก ว่าความคิดไม่เที่ยง เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ... สังเกตว่า ทุกครั้งที่เราเห็นว่าความคิดดับไป รู้สึกเป็นไง ? ตอนนี้ไม่เห็นนะ ? ลองดูนะ คิดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วให้เขาตั้งอยู่สัก ๑๐ วิ โดยที่ไม่ให้ดับไป จิตใจ รู้สึกเป็นไง... หนักหรือเบา ? หนัก แล้วถ้าเห็นว่าเขาดับไปตามธรรมชาติ คิดขึ้นมา รู้แล้วเขาดับ... ดับ ทุกครั้งรู้สึก ? โล่งไป เบาไป นี่แหละธรรมชาติเขา(มีการ)เกิดดับ
เมื่อไหร่ที่เห็นธรรมชาติตรงนี้จิตเขาก็จะโล่ง แต่ทาไมเราเข้าไปยึด ๆ ๆ แล้วเราก็ไม่เห็นอาการดับ ของความคิด มีแต่เรื่องใหม่ เรื่องใหม่ เรื่องใหม่ เรื่องใหม่... แล้วก็ต่อยาวขึ้น ก็แบกความหนักไปเรื่อย ๆ แต่ทุกครั้งที่เห็นว่าเขาดับ ดับแล้วจิตจะเบา ดับแล้วเบา ดับแล้วเบา... ตรงนี้แหละการเจาะสภาวะที่เรา มีเจตนาที่จะรู้อาการเกิดดับของความคิด พอจิตเขาเห็นความจริงแบบนี้ซ้า ๆ ๆ จนมั่นใจ ถึงไม่บอกเขา ก็ดับ เห็นปุ๊บเขาก็จะดับ จบเร็ว พอเกิดใหม่ก็เป็นอันใหม่ ถึงเป็นเรื่องเดิมแต่ก็เป็นความคิดใหม่ ไม่ใช่ ของเดิม นี่คือเห็นการเกิดดับ รู้ว่าความคิดเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดใหม่ขึ้นมา (แม้เป็น)เรื่องเดิมแต่เกิด (ขึ้นมา)ใหม่ ไม่ใช่ของเก่า ถ้าเป็นของเก่าก็จะ “ตั้งอยู่” อย่างนั้นเลย นี่คือจุดสาคัญ
เพราะฉะนั้น การเจาะสภาวะ การรู้อาการพระไตรลักษณ์อาการเกิดดับ รู้ความเป็นอนิจจัง-ทุกขัง- อนัตตาตรงนี้ ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว(จิต)เขาจะคลาย ๆ ๆ โดยอัตโนมัติ เขาจะหยุดอารมณ์ อารมณ์นั้นก็จะ สั้นลง ๆ จิตก็จะอิสระขึ้น รับรู้ตามปกติแต่อิสระขึ้นกว่าเดิม รับรู้ความคิดที่เกิดขึ้นตามปกติ แต่อิสระขึ้น กวา่ เดมิ ไมท่ กุ ขก์ บั ความคดิ นนั้ ตรงนอี้ ยา่ งหนงึ่ ยงิ่ ถา้ เขา้ ใจเรอื่ งทคี่ ดิ ดว้ ยแลว้ จบเรว็ มากเลย ความคดิ เกดิ ขึ้นมา ทาความเข้าใจปุ๊บเขาจะจบ ดับเกลี้ยงไปไม่เหลือเศษ ใจก็สบาย ใจก็ยิ่งเบาเร็วขึ้น ถึงแม้ไม่เข้าใจ แต่ สนใจเห็นว่าเขาดับปึ๊บ ดับทุกครั้งจิตก็จะเบาขึ้น นี่แหละอานิสงส์หรือประโยชน์ของการเจาะสภาวะ
จรงิ ๆ แลว้ สงั เกตไหมวา่ ทพี่ ดู มาทงั้ หมดเปน็ อาการของอะไร ? ของขนั ธท์ งั้ หา้ ของรปู เวทนา สญั ญา สังขาร วิญญาณ ของรูป คือลมหายใจหรือภาพที่เห็นข้างนอก ของจิตก็คือ ตัววิญญาณรู้ ตัวความคิดหรือ ตัวสัญญา สัญญาคือจาได้ จาได้ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ สังขาร คือการคิดปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ คาว่า “ปรุงแต่ง” ไม่ใช่ว่าไม่ดีเสมอไปนะ ถ้าเราไม่ปรุงแต่ง จินตนาการหายไปหมด ทื่อ ๆ อย่างเดียวปัญญาก็ไม่เกิด เพราะ ฉะนั้น ปรุงแต่งหรือสังขารจึงมีอยู่สองอย่าง เขาเรียก “ปุญญาภิสังขาร” กับ “อปุญญาภิสังขาร” สังขารที่ สร้างสรรค์ที่เป็นบุญที่เป็นความดี กับสังขารที่ปรุงแต่งในเรื่องที่ไม่ดี แล้วทาให้เป็นทุกข์
แตส่ งั ขารการปรงุ แตง่ ทงั้ ในสงิ่ ทดี่ แี ละไมด่ กี ไ็ มใ่ ชส่ งิ่ ทคี่ วรเขา้ ไปยดึ แคน่ นั้ เอง ไมใ่ ชห่ า้ มปรงุ แตง่ เลย ถ้าไม่ปรุงแต่งชีวิตจะเป็นอย่างไร ? ร่างกายเราก็ถูกปรุงแต่งด้วยธาตุสี่ขันธ์ห้า อาหาร อากาศ ฯลฯ ตรงนี้ คือกรรมที่ปรุงแต่งชีวิตของเราให้ดาเนินไปอยู่ แต่การปรุงแต่งที่บอกว่า อย่าปรุงแต่งมากเลย มัวแต่นั่ง ปรุงแต่ง มัวแต่นั่งคิด ๆ ๆ แล้วไม่มีสติกาหนดรู้ คิดอะไรก็ไม่รู้ไร้สาระ เรื่องที่คิดบางครั้งก็ไม่ใช่เรื่อง ไร้สาระหรอก เรื่องที่ทาให้ทุกข์เพราะเราคิดว่าเป็นสาระอย่างมาก ปรุงแต่งไปเครียดไปทุกข์ไป คนเราจะ ไม่ทุกข์กับเรื่องที่ไร้สาระ ใช่ไหม ? มีใครบ้างทุกข์กับเรื่องที่ไร้สาระ ?