Page 266 - พระอาจารย์เทศน์เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนา
P. 266
262
ละเอียดหรือมีแต่จิตอย่างเดียว ก็ยังต้องมีอารมณ์ให้รับรู้เป็นเรื่องปกติ ธรรมดา แต่ทีนี้เรามาพิจารณาถึงคาสอนขององค์สมเด็จพระสัมมา- สัมพุทธเจ้าที่บอกว่า การที่เราพิจารณาเห็นถึงสัจธรรมความจริง การเห็น ถึงความเป็นคนละส่วน...
ทาอย่างไรถึงจะเห็นถึงความเป็นคนละส่วน ? อย่างที่บอกไปแล้ว การสังเกตการพิจารณาดูว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับกาย เป็นส่วนเดียวกันหรือ คนละส่วนกัน จิตที่ทาหน้าที่รู้กับลมหายใจ เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละ ส่วนกัน สังเกตแบบนี้อยู่เนือง ๆ บ่อย ๆ ถ้าจะให้ดีให้มีความชัดเจน มากขึ้น ก็ควรสังเกตในทุก ๆ อารมณ์ อย่างเช่น พอได้ยินเสียง สังเกตว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้กับเสียง เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน พอมีความ คิดขึ้นมา ก็สังเกตดูว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับความคิด เป็นส่วนเดียวกันหรือ คนละส่วนกัน พอมีความปวดขึ้นมา ก็สังเกตดูว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับความ ปวด เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน
การที่เราหมั่นสังเกตแบบนี้ เขาเรียกว่าเป็นความเพียร เพียรที่จะ ใส่ใจเข้าไปกาหนดรู้ถึงธรรมชาติ ถึงสัจธรรม ถึงความเป็นจริงที่กาลัง ปรากฏเกิดขึ้นอยู่ทุก ๆ ขณะ ความเพียรใส่ใจเข้าไปกาหนดรู้ในลักษณะ อย่างนี้จะทาให้มีปัญญา คือการได้รู้ได้เห็นถึงสัจธรรมที่เกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ได้เกิดจากการคิดหรือการปรุงแต่ง แต่เกิดจากการใส่ใจ เขาเรียกว่า “มนสิการ” หรือ “ธัมมวิจยะ” การสอดส่องธรรม พิจารณาธรรม ตรงนี้จะ ได้เห็นว่ารูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง สัญญาเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นอนัตตา... จะปรากฏ เกิดขึ้นมาให้ประจักษ์ด้วยตาปัญญาของตัวเอง