Page 79 - พระอาจารย์เทศน์เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนา
P. 79
กระทา กรรมตา่ ง ๆ ขนึ้ มา ไมว่ า่ จะเปน็ ทางกาย วาจา หรอื ใจกต็ าม กอ็ าศยั รูปนามขันธ์ห้าทั้งภายในและภายนอกนั่นเอง
เพราะฉะนั้น รูปนามขันธ์ห้าจึงเป็นที่ตั้งของการยึดมั่นถือมั่น ทาไมถึงเป็นที่ตั้งของการยึดมั่นถือมั่น ? เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริง ๆ แต่ เป็นที่ตั้งของการยึดมั่นถือมั่น เพราะเขาทาหน้าที่ตามปกติ แต่เมื่อเรา ไม่เข้าใจ ไม่ได้พิจารณาให้เกิดปัญญา เห็นตามความเป็นจริง จึงเข้าใจผิด คิดว่าเป็นตัวเราของเรา เมื่อเข้าใจผิดคิดว่าเป็นตัวเราของเรา ก็นามาซึ่ง ความทุกข์ ความหลง ความอึดอัดขัดเคือง เมื่อเจอกับความเปลี่ยนแปลง ความพลัดพราก ความไม่เที่ยง
เมื่อพิจารณาคาสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บอก ว่า รูปนามขันธ์ห้าตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะฉะนั้น จึงมีคาถามว่า รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? เวทนาเที่ยง หรือไม่เที่ยง ? สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? รูปบอกว่าเป็นเราไหม เป็นอัตตาหรืออนัตตา ? เวทนาเป็นอัตตาหรืออนัตตา ? สัญญาเป็นอัตตาหรืออนัตตา ? สังขาร เป็นอัตตาหรืออนัตตา ? แล้วตัววิญญาณที่เราบอกว่าเป็นเราของเรานี่ เป็นอัตตาหรืออนัตตา ? นั่นคือการพิจารณาตามความเป็นจริงในแต่ละ ขันธ์ที่เกิดขึ้น มีขันธ์ไหนบ้างที่บอกว่าเป็นตัวเราของเรา ?
ตรงนี้คือความจริง ทาไมพูดถึงการออกจากทุกข์แล้วถึงตรัสเรื่อง รูปนามขันธ์ห้า ? เพราะนี่คือธรรมชาติที่คนเราเข้าใจผิดคิดว่าเข้าไปยึดได้ ยึดว่าเป็นของเรา ยึดว่าเป็นของเที่ยง เมื่อหลงเข้าไปยึดเมื่อไหร่ รูปนาม ขันธ์ทั้งห้ามีความเปลี่ยนไปแสดงถึงกฎไตรลกัษณ์ความไม่เที่ยงมีการ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เมื่อยึดไม่ได้ความทุกข์จึงเกิดขึ้นมา ปรารถนาสิ่งใด
75