Page 80 - พระอาจารย์เทศน์เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนา
P. 80

76
จะยึดเอาไว้ ก็ยึดไม่ได้ เจอกับความไม่เที่ยง เจอกับสัจธรรมความจริง ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้เป็นไปตามใจอย่างที่ปรารถนา ความทุกข์ก็เกิดขึ้นมา เพราะฉะนั้น การที่พิจารณาธรรม การปฏิบัติธรรม การศึกษาธรรมะที่จะเป็นไปเพื่อความดับทุกข์จริง ๆ จึงมาพิจารณากาหนดรู้ ศึกษา ตามดูอาการของรูปนามขันธ์ห้านั่นเองว่าจริง ๆ เป็นอย่างไร
ทีนี้ การกาหนดรู้อาการรูปนามขันธ์ห้า ถึงกฎของไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรารู้เราเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ความ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บางครั้งเห็นแล้วแต่ทาไมยังทุกข์ ? อันนี้ยัง ต้องพิจารณาให้แยบคายให้ละเอียดยิ่งขึ้น คาว่า “ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” หรือเรียกว่า “การเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของรูปนามขันธ์ห้า” นั้น มีอยู่สองส่วน หนึ่ง ก็คือ เป็นการเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีแล้ว หมดไป ด้วยสภาพของความเป็นบัญญัติ ความเป็นเรื่องราว ความเป็น กลุ่มก้อนของรูปนามขันธ์ห้าที่ปรากฏ
กับอีกอย่างหนึ่งคือ เห็นอาการปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ เป็น สจั ธรรมจรงิ ๆ ทเี่ กดิ ขนึ้ การทจี่ ะเหน็ อยา่ งนตี้ อ้ ง “ละ” ตวั สา คญั คอื ปญั ญา เรมิ่ จากการเหน็ วา่ รปู กบั นามเปน็ คนละสว่ นกนั พจิ ารณาใหเ้ หน็ ตามความ เป็นจริงว่า กายกับใจนั้นเป็นคนละส่วนกัน ใจที่ทาหน้าที่รู้กับร่างกาย ที่กาลังนั่งอยู่เป็นคนละส่วนกัน หรือที่เรียกว่า ตัววิญญาณที่ทาหน้าที่รู้ กับรูปที่นั่งอยู่นั้นเป็นคนละส่วนเป็นคนละขันธ์กัน อันนี้เบื้องต้น จึงเป็น สิ่งสาคัญในการพิจารณาที่จะให้เห็นว่ารูปนามขันธ์ห้าไม่ใช่ของเราได้ อย่างไร ทาไมถึงไม่บอกว่าเป็นเรา ถ้าเราไม่สนใจพิจารณาถึงสัจธรรม ข้อนี้ ถึงความเป็นคนละส่วนระหว่างรูปกับนาม ก็ยากที่จะเข้าใจที่จะเห็น ว่าความไม่มีเรานั้นเป็นอย่างไร


































































































   78   79   80   81   82