Page 104 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 104

86
กับความทุกข์ เราก็พาความทุกข์เข้านอนด้วย ตื่นขึ้นมาก็พาความทุกข์ตื่นขึ้น มาด้วย พอไปทางานก็ลืม พอกลับมาก็ทุกข์ต่อ...
เพราะฉะนั้น วิธีการดับทุกข์ อย่างที่บอกแล้วว่า วิธีง่าย ๆ ที่สุดก็คือ ว่า ถ้าเมื่อไหร่ทุกข์ ให้แยกจิตเรากับความทุกข์ แล้วขยายความรู้สึกที่ทุกข์ ให้กว้างออก ความไม่สบายใจมันจะรู้สึกแน่น ๆ หนัก ๆ ใช่ไหม ? นั่นคือ ลักษณะของความทุกข์ แล้วลองดู ขยายออกให้กว้างออกไป ไม่มีขอบเขต ไม่ต้องข่ม ไม่ต้องกด ส่วนใหญ่แล้วพยายามกดเอาไว้ กดนาน ๆ กลายเป็น เก็บกด ใช่ไหม ? ข่ม แล้วกด ๆ ๆ เอาไว้ ไม่ยอมให้มันคลายออกไป พอ กดจนเต็ม มันก็ระเบิด! ระเบิดนี่ ก่อนที่จะไปถูกสิ่งอื่น ก็ทาลายตัวเองก่อน
จิตเราก็เหมือนกัน ความทุกข์ที่เราเก็บกดเอาไว้นาน ๆ พอระเบิดขึ้น มา กว่าที่จะถึงคนอื่น ใจของเราก็แตกสลายไปแล้ว ความทุกข์มันกระจาย ออกไป ใครเดินผ่านร้อนทั้งหมดเลย กระแสไฟที่กระจายออกไป ลักษณะ ของจิตเรามี ๒ อย่างคือ ดีใจมาก ๆ ตื่นเต้นมาก ๆ ก็จะรู้สึกแน่น ๆ อึดอัด ขึ้นมาบริเวณหัวใจเรา มันจะตื้นตัน แล้วก็แน่น ๆ บางคนตื้นตันจนช็อกก็มี ปรับไม่ทัน... เสียใจจนช็อกก็มี ลักษณะแบบเดียวกันสังเกตดูได้ว่า เวลาเรา เสียใจมันก็จะแน่น ๆ ๆ ขึ้นมา
เพราะฉะนั้น วิธีคือ ขยายมันให้กว้างออก จิตที่กว้างจะรับอะไรได้ เยอะ จิตที่กว้างและว่างก็เหมือนอากาศ อะไรเกิดขึ้นมาก็ตั้งอยู่ในที่ว่าง ๆ เขาไม่มีน้าหนัก เคยได้ยินไหม พระพุทธเจ้าบอกพระราหุลว่าไง ? จงทาใจ เหมือนอากาศใช่ไหม ? ทาใจให้เหมือนแผ่นดิน ทาใจให้เหมือนมหาสมุทร... ทาใจให้เหมือนมหาสมุทร ขยะอะไรตกลงไป มันก็ซัดขึ้นฝั่งหมด ทาใจ เหมือนท้องฟ้า อะไรก็ลอยได้ ลองทาใจเราให้กว้างเท่าท้องฟ้าสิ รู้สึกเป็น ไง ? ใจยิ่งว่าง ใจยิ่งกว้าง ทุกอย่างเข้ามาแล้วก็ตกลงไป เขาไม่เก็บ
สังเกตว่า ใจคนเรายิ่งแคบยิ่งสั่งสม และตัวที่สั่งสมก็ไม่ใช่สิ่งที่ ตัวเองปรารถนาเลย ส่วนมากเราจะรู้สึกว่าไม่ชอบเลย ทาไมเป็นอย่างนี้! ไม่


































































































   102   103   104   105   106