Page 106 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 106

88
โยมลองสังเกตดูสิ โยมปล่อยจิตที่เป็นสุข หรือจิตที่ว่าง จิตที่กว้าง ของโยมนี่ ทุกคนปล่อยให้กว้างเท่าศาลาหมด แต่เขาไม่เคยกระทบกันเลย แต่ตัวของเรานี่เดินชนกันยังกระทบกันกระเด็น เห็นไหม จิตยิ่งกว้างยิ่งไม่ กระทบกัน จิตยิ่งแคบกลับกระทบกันง่าย บางครั้งเขาไม่กระทบเรา เราก็ กระทบเขา เดินไปชนเอง เจ็บเอง บ่นเอง คร่าครวญเอง เพราะฉะนั้น ที่ ถามว่า เอาธรรมะอะไรไปใช้กับชีวิต ? จึงบอกว่า ฝึกจิตของเรา ทาจิตให้ว่าง
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อดับทุกข์ได้แล้ว ต้องรู้ว่าเวลาทุกข์ดับไป ใจเรา รู้สึกอย่างไร ? ให้เห็นจิตตัวเองด้วย เพราะอะไร ? เพราะการที่เราจะยกจิต ขึ้นสู่ความสุขจะทาได้ง่าย เมื่อไหร่ก็ตามที่เราทางานไป พอรู้สึกความทุกข์ หายไป ใจเรารู้สึกว่า เออ!ไม่ทุกข์แล้วนะ เวลาเห็นใจที่ไม่ทุกข์ให้ “พอใจ” พอใจในความไม่ทุกข์ของตัวเอง พอใจที่ขณะนี้ไม่ทุกข์ นั่นคือ “วิธีสร้างความ สุข” ที่ง่ายที่สุด ให้รู้จักพอใจในความไม่ทุกข์ที่กาลังเป็นอยู่ ไม่ใช่พอแล้วนะ คนละอย่างกัน! “พอใจ” กับ “พอแล้ว” คนละอย่างกัน ถ้าพอแล้ว แล้วเรา ไม่ทา ถ้าพอใจแล้วจะมีกาลังมากขึ้น ๆ ลองดูสิ
จิตที่ว่าง จิตที่เบานี่ เราใช้งานได้ ที่บอกว่า นอกจากให้กว้างกว่า ทุก ๆ อารมณ์ที่รับรู้ มีอีกอย่างหนึ่ง เวลาเราเครียด ปวดหัว เคยเป็น ใช่ไหม ? ความเครียดความปวดหัว จริงๆ แล้วแก้ไม่ยากหรอก “อย่าคิดซ้า อย่าคิดเพิ่ม” ยากนะ... กาลังคิดอยู่ บอกว่าอย่าคิด อย่าคิด! กาลังเครียด อยู่ แล้วบอกว่า อย่าคิด อย่าคิด! เป็นเรื่องยาก วิธีก็คือว่า เมื่อเราแยก จิตออกจากกายได้ เราย้ายจิตของเราได้ ให้เอาจิตที่เบา ๆ นี่ไปที่สมองเรา แล้วให้มัน “ทะลุ” สมองไป ไม่ต้องดูรูปร่างของสมองหรอก... ให้จิตที่เบา ๆ ทะลุสมองไป ลองดู รู้สึกเป็นยังไง ?
จิตเราเคลื่อนย้ายที่ได้ ให้กว้างกว่าสมองไปเลย อันนี้อย่างหนึ่ง เมื่อ ไหร่ที่รู้สึกเครียด ตึง ๆ ขึ้นมา หนัก ๆ ขึ้นมา ให้เข้าไป แล้วก็ขยายเขาให้ กว้างออกให้ทะลุไป แล้วเขาก็จะหาย บางคนเคยเป็นไมเกรนมาตั้ง ๑๐ ปี


































































































   104   105   106   107   108