Page 111 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 111

93
ท้องยุบลง ใครที่เวลาหายใจเข้าออกแล้วพองยุบไม่ชัด หรือไม่รู้สึกว่ามี อาการพองยุบเกิดขึ้น แต่รู้สึกถึงลมหายใจเข้าลมหายใจออกอย่างเดียว ก็ให้ พิจารณาตามรู้อาการของลมหายใจเข้าลมหายใจออกนั่นแหละ ถ้าใครรู้สึกว่า ขณะที่หายใจเข้าออกแล้วอาการพองยุบชัด ก็ให้ตามรู้อาการพองยุบ
ในการตามรู้อาการของลมหายใจเข้าออก หรือตามรู้อาการพองยุบ ปกติเราจะมีคาบริกรรม ใช่ไหม ? พองหนอ ยุบหนอ... จริง ๆ เป้าหมาย ของการเจริญวิปัสสนา ไม่ว่าจะเป็นการกาหนดพองยุบหรือรู้อารมณ์อะไร ก็มีเป้าหมายอย่างเดียวกัน คือ “รู้อาการพระไตรลักษณ์” ก็คือรู้อาการเกิด ดับของรูปนาม ขณะที่เรากาหนดรู้พองยุบ อาการพองยุบเป็นอาการของรูป อาการของลมหายใจเข้าออกเป็นอาการของรูป อันนั้นเรารู้แล้ว แต่ทีนี้ ขณะ ที่ตามรู้อาการของพองยุบ ให้ “เพิ่มการสังเกต” ให้ละเอียดมากขึ้น
คาบริกรรมเพื่อให้ได้ปัจจุบัน ควรจะอยู่ “ที่เดียวกัน” กับพองยุบ ลองสังเกตดูนะ เวลาเรากาหนดพองยุบ บางทีคาบริกรรมเราอยู่ที่ปาก แต่ อาการพองยุบอยู่ข้างล่าง ถ้าเป็นอย่างนั้น ลองดูว่า สติเราอยู่ตรงไหน ? สติเราอยู่ที่คาบริกรรมหรืออยู่ที่ท้องพองยุบ ? ฉะนั้น หลักของการกาหนด อารมณ์คือ ให้มีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน หรือปัจจุบันขณะนั่นเอง การที่สติเรา จะอยู่กับปัจจุบันจริง ๆ ก็คือ “ให้คาบริกรรมอยู่ที่เดียวกับอาการ” แต่ใครที่ รู้สึกว่าไม่ถนัดใช้คาบริกรรม ให้จิตอยู่ที่เดียวกับอาการได้เลย รู้สึกถึงอาการ ได้เลย พอรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ก็สังเกตอาการเคลื่อนไหวไป พอสิ้นสุด เราก็ตามกลับเข้ามา
อีกจุดหนึ่งที่ต้องสังเกต เวลาเรากาหนดพอง ตามอาการพองออกไป เวลาสุดพอง เขามีอาการหยุดก่อนไหมก่อนที่จะกลับเข้ามา ? ให้สังเกตใน ลักษณะอย่างนี้ พอกลับเข้ามาสุด เขามีอาการหยุดก่อนไหมก่อนที่จะ ออกไป ? และสังเกตให้ละเอียดขึ้นไปอีกก็คือว่า แม้แต่ขณะที่เขากาลังพอง ออก เขาเป็นเส้น หรือมีอาการหยุดเป็นขณะ ๆ ? ตรงนี้คือสังเกตรายละเอียด


































































































   109   110   111   112   113