Page 113 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 113
95
ตึ้บ ตึ้บ ตึ้บ ตึ้บ เบา ๆ ถ้ามีอาการอย่างนั้น ให้ตามรู้อาการนั้นไป ไม่ต้อง ห่วงลมหายใจหรือพองยุบ เพราะอารมณ์นั้นคืออารมณ์ปัจจุบันที่ชัดที่สุด สาหรับจิตของเราในขณะนั้น ฉะนั้น ให้สังเกตอาการนั้นไป อันนี้คือการตาม รู้กายในกาย
“การตามรู้เวทนา” เวลาเรานั่งสมาธิหรือเจริญกรรมฐาน แล้วมี เวทนามีความปวดเกิดขึ้น ลองสังเกตดูว่า ความปวดที่ปรากฏขึ้นมากับจิตที่ ทาหน้าที่รู้ว่าปวด เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน ? ให้สังเกตในลักษณะ อย่างนี้ ทาไมถึงต้องสังเกต ? เหตุที่ต้องสังเกตอย่างนี้ ก็เพื่อการแยกระหว่าง “จิตที่ทาหน้าที่รู้” กับ “เวทนา” หรือ “วิญญาณรู้” กับ “เวทนาที่เกิดขึ้น” แยก ออกมาเพื่ออะไร ?
ถ้าเราเห็นว่า จิตกับเวทนาแยกส่วนกัน จิตเราจะไม่ขุ่นมัว ไม่เศร้า หมอง ไม่ทรมาน รู้แต่เวทนาที่ปรากฏขึ้นมา และนอกจากสังเกตว่า จิตกับ เวทนาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนแล้ว ควรทาอย่างไรต่อ ? หน้าที่ของ ผู้ปฏิบัติ คือ ตามกาหนดรู้ว่าเวทนานั้นมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับใน ลักษณะอย่างไร คือตามรู้อาการพระไตรลักษณ์ รู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของเวทนา
อย่างเช่น เวลามีความปวดเกิดขึ้นมา ให้มีสติเข้าไปรู้ว่าความปวดเขา มีลักษณะอย่างไร... มีอาการเคลื่อนไหว มีอาการหมุน มีอาการบิด มีอาการ ดังแปลบ ๆ แปลบหาย หรือ เดี๋ยวค่อย ๆ จางหาย เลือนหาย หรือ ค่อย ๆ ปวดมากขึ้น มากขึ้น ? รู้ความไม่เที่ยงของความปวด เขาเรียกตามรู้ อ า ก า ร ข อ ง เ ว ท น า ต า ม ร ค้ ู ว า ม ไ ม เ่ ท ยี ่ ง ข อ ง เ ว ท น า น นั ้ เ ป น็ อ ย า่ ง ไ ร ? ไ ม ใ่ ช ไ่ ป ห า้ ม ว่าเวทนาอย่าเกิดนะ พอแล้วนะ ฉันปวดมากแล้ว! แล้วก็พยายามทาให้หาย
อย่างที่เคยบอกไว้ว่า บางครั้งพอมีเวทนาเกิดขึ้นมา เราเอาเวทนา มาเป็นศัตรู เป็นคู่กรณี แล้วเราก็กัดฟันสู้ คิดว่าจะต้องเอาชนะเวทนาให้ได้ ทั้ง ๆ ที่เวทนาเป็นอารมณ์อารมณ์หนึ่งของกรรมฐาน ถ้าเอาเวทนามาเป็นศัตรู