Page 114 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 114
96
เราก็จะทรมานกับเขา เราก็จะทุกข์กับเขา แต่ถ้าเราเอาเวทนามาเป็นครู เราก็ จะมีขันติมากขึ้น มีความอดทนมากขึ้น เราก็จะได้ปัญญาจากการพิจารณา อาการพระไตรลักษณ์ของเวทนา คือตามรู้ว่าเวทนาที่เกิดขึ้น มีการ เปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับในลักษณะอย่างไร ไม่ใช่เข้าไปบังคับว่าต้องหาย
โยคีหลาย ๆ ท่าน พอมีเวทนาขึ้นมา ก็ตั้งจิตไว้ว่า ฉันจะสู้! บัลลังก์ นี้ต้องเอาชนะให้ได้! กัดฟันสู้น้าตาไหลก็เอา สู้ไปสู้มา... สู้ด้วยอะไร ? แทนที่ จะสู้ด้วยปัญญา กลับสู้ด้วยกาลัง สู้ด้วยตัวตน มีเราเป็นผู้สู้ แทนที่จะมี สติทาหน้าที่รู้ สู้กับอาการของเวทนา พิจารณาถึงความไม่เที่ยงของเวทนา เพราะเวทนาเป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป บังคับบัญชา เขาไม่ได้ สิ่งที่เราต้องเข้าไปรู้คือ “ลักษณะของความไม่เที่ยงของเวทนานั้น เป็นอย่างไร” ที่บอกว่าเวทนาไม่เที่ยง อาการของความไม่เที่ยงเป็นอย่างไร ? นิ่ง ๆ มีการเปลี่ยนแปลง มีการเคลื่อนไหว ปวดมากขึ้น ปวดน้อยลง จาง ลง บางลง หรือหายไป ? นั่นคือสิ่งที่ต้องสังเกต รู้ความไม่เที่ยงของเวทนา
เวทนามี ๒ ส่วน ที่พูดมานี่ก็คือเวทนาทางกาย แต่เวทนาทางกาย นั้น ถ้าเราไม่แยกระหว่างจิตเรากับเวทนาเวทนาทางใจก็จะเกิดขึ้นด้วย เวทนา ทางใจที่เกิดขึ้นนั้น ถ้ามีตัวตน มีความเป็นเรา เป็นผู้ตามรู้ เวทนาทางใจก็ จะเป็นทุกขเวทนาไปด้วย แต่ถ้าแยกจิตกับเวทนาออกจากกัน เวทนาทางจิต อาจจะเป็นแค่อุเบกขาเวทนา ไม่ทุกข์กับเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น แล้วก็จะ เห็นว่า เวทนาทางกายก็สักแต่เวทนา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา และเวทนานั้นก็กาลัง เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์ นั่นคือวิธีการพิจารณา
ทีนี้ “การดูจิตในจิต” การดูจิตในจิต คือ ๑. การตามรู้ รู้ว่าจิตคิด อะไร ๒. รู้ว่าสภาพจิตใจเราเป็นอย่างไร และ ๓. จิตที่ทาหน้าที่รู้มีอาการ อย่างไร จิตที่ทาหน้าที่รู้เป็นจิตดวงเดียวที่รู้อยู่ตลอดเวลา หรือรู้ขึ้นมาแล้ว ดับไป แล้วเกิดขึ้นใหม่ รู้ใหม่ ? และขณะที่เราตามรู้ความคิดก็ในลักษณะ เดียวกันนั่นแหละ รู้ว่าเวลามีความคิดเกิดขึ้น ความคิดนี้เกิดขึ้นมาแล้วดับ