Page 112 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 112

94
ของอาการพองยุบ เพื่ออะไร ? เพื่อให้เห็นอาการเกิดดับของอาการพองยุบ นั่นเอง ถ้าเราไม่มีเจตนาที่จะสังเกตอย่างนี้ เราก็จะเห็นแต่ว่า พองหนอ ยุบ หนอ คือตามจังหวะไปเรื่อย ๆ ๆ
และขณะที่ตามรู้อาการพองยุบ บางครั้งอาการพองยุบของเราเบาลง บางลง น้อยลง หรือหายไป อันนี้ต้องรู้ชัด ให้สังเกตให้ชัดว่าเขาหายไปแล้ว ถ้าพองยุบหายไป สังเกตว่า มีอาการอะไรเกิดขึ้นมาต่อจากพองยุบ ? ไม่ต้อง กลัวว่าพองยุบหายไปแล้วจะไม่เกิดอีก บางทีพอรู้สึกว่าพองยุบละเอียดลง บางลง น้อยลง เราก็กลัวว่าพองยุบจะหายไป คือกลัวสติไม่อยู่กับปัจจุบัน หาไม่เจอก็พยายามหายใจแรง ๆ เพื่อให้พองยุบชัดขึ้นมา
ที่จริงแล้ว ถ้าพองยุบหายไป ก็จะมีสภาวะอื่นที่ละเอียดมากกว่านั้น เกิดขึ้นมา เพราะฉะนั้น ให้สังเกตให้ดี การกาหนดรู้อาการพองยุบ ให้สังเกต ในลักษณะอย่างนี้
ใครที่ตามรู้อาการของลมหายใจเข้าออก ก็สังเกตในลักษณะเดียวกัน บางคนตามรู้อาการของลมหายใจเข้าออก รู้แค่จุดสัมผัสที่ปลายจมูกเบา ๆ เบา ๆ สักพักก็หายไป พอจุดสัมผัสหายไปก็หลับ! คือตามรู้ไม่ทัน หรือไม่ เห็นอาการ วิธีสังเกตคือ “ตามลมหายใจ” ไม่ใช่แค่จุดสัมผัส เวลาเราหายใจ เข้ายาว ๆ รู้สึกไหมว่าอากาศเข้าไปถึงไหน ? เวลาหายใจออกยาว ๆ รู้สึก ไหมว่า เขาอยู่แค่นี้ หรือว่ายาวออกไปไกล ๆ พอสุดแล้วก็กลับเข้ามา ? ใน ขณะเดียวกัน เวลาเราตามรู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับให้เขายาวเท่ากัน ตลอด ให้ “สังเกตการเปลี่ยนแปลง” ยาวก็รู้ว่ายาว สั้นก็รู้ว่าสั้น ตามธรรมชาติ “รู้ให้ชัด” ว่าเขาเป็นอย่างไร เพราะการรู้ชัดหมายถึงว่าเรารู้อย่างมีสติ ถ้าเรา แค่รู้เผิน ๆ สติเราจะอ่อน จิตเราจะไม่ตั้งมั่น แค่รู้สึกว่า เบา ๆ เรื่อย ๆ
อาการที่เกิดขึ้นที่กายของเราอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการเต้นของหัวใจ หรืออาการของชีพจร บางครั้งลมหายใจหายไป อาการพองยุบหายไป รู้สึก ได้อย่างเดียวคือ อาการคล้าย ๆ อาการเต้นของหัวใจหรือชีพจร ที่มีอาการ


































































































   110   111   112   113   114