Page 115 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 115
97
อย่างไร ไม่ใช่รู้ว่าคิดอะไรอย่างเดียว ถ้ารู้แค่ว่าคิดอะไร ก็จะปรุงแต่ง คิด ต่อไปเรื่อย ๆ
ถา้ เรามเี จตนาทจี่ ะรถู้ งึ ความไมเ่ ทยี่ ง การเกดิ ดบั ของความคดิ เราตอ้ ง รู้ว่าคิดขึ้นมาแล้วเขาดับอย่างไร เพราะปกติเวลาเราคิด จะมีมโนภาพปรากฏ ขึ้นมา คิดถึงอะไรภาพนั้นก็จะปรากฏขึ้นมา วิธีสังเกตก็คือว่า ภาพที่ปรากฏ ขึ้นมา เขาตั้งอยู่นานไหม ? หรือว่าหายไปแล้วเปลี่ยนเป็นภาพใหม่ต่อทันที ? สังเกตดี ๆ ก็จะเห็นว่าความคิดเราเกิดดับในลักษณะอย่างไร และขณะที่ เห็นความคิดเกิดดับเปลี่ยนแปลงอย่างนั้น จิตใจเราเป็นอย่างไร รู้สึกดีไม่ดี อย่างไร อันนี้ก็คือหลักของการเจริญวิปัสสนา ไม่ว่าจะเป็นความคิดเรื่องอะไร ก็ตามเกิดขึ้นมา ให้มีเจตนาที่จะรู้ว่าเขาเกิดดับอย่างไร
และอีกอย่างหนึ่งคือ “สภาวธรรม” สภาวธรรมคืออะไร ? สภาวธรรม ก็คือ อาการของรูปนาม ลักษณะของอาการพระไตรลักษณ์ การเกิดขึ้น ตั้ง อยู่ ดับไป ของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือกาย เวทนา และ จิต นั่นเองที่เป็นสภาวธรรม และอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการที่เราเรียกชื่อไม่ ถูกหรือไม่มีชื่อ แต่บอกได้ รู้สึกว่ามันว่าง ๆ แต่ในความว่าง มีอาการไหว ๆ มีอาการกระเพื่อม แต่ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร แล้วก็มีแสงปรากฏขึ้นมาวาบ ๆ หรือมีอาการระยิบระยับปรากฏขึ้นมา นั่นก็คือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในขณะ ที่เราเจริญกรรมฐาน
ง่วงหรือยัง ? ฟังธรรมมะแล้วง่วง ทาไงดี ? เดี๋ยวหางานให้จิตทา ก่อนก่อนที่จะหลับ ลองดูนะ อาจารย์จะสอนวิธีทาใจให้ว่าง วิธีสู้กับความง่วง บอกแล้วทาตามเลยนะ ทาแล้วรู้สึกยังไง ? ลองดูนะ วิธีทาใจให้ว่าง อย่าง หนึ่งเราต้องรู้ก่อนว่า เวลาใจเราว่าง รู้สึกหนักหรือเบา ? เบา ใช่ไหม ? เวลา ใจไม่ว่างรู้สึกเป็นอย่างไร ? หนัก เวลาใจเรามีความสุข รู้สึกหนักหรือเบา ? เบา เวลามีความทุกข์ ? หนัก เพราะฉะนั้น แยกง่ายมาก เวลาเราดับทุกข์ คือดับความหนัก เวลาจะทาให้ใจมีความสุข คือ ทาใจให้ว่าง ๆ เบา ๆ