Page 117 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 117
99
ตามออกมาด้วยจนสุด พร้อมกับสังเกตว่า เวลาหายใจเข้า เวลาพองออกสุด เขามีอาการหยุดหรือหายไปก่อนไหม ก่อนที่จะเข้าไป ? สังเกตแบบนี้ไป เรื่อย ๆ เรื่อย ๆ แล้วลองดูว่า รู้สึกอย่างไร ?
ถามว่า ขณะที่เราตามกาหนดรู้อาการของลมหายใจเข้าออก หรือ พองยุบนั้น สามารถใช้คาบริกรรมประกอบด้วยได้ไหม ? สามารถใช้ได้ หรือ ไม่ต้องใช้คาบริกรรมก็ได้ แต่ให้ “รู้ชัด” ในอาการที่เกิดขึ้นและกาลังเป็นไป อยู่นี้ ว่าเป็นไปในลักษณะอย่างไร สิ่งที่เราเห็นอยู่นี้ ถ้าสังเกตดี ๆ จะมีการ เปลี่ยนแปลง หรือมีอะไรที่ “ต่าง” จากที่เราเคยเห็น
โดยธรรมชาติของจิตของคนเรา จะไม่ชอบอยู่กับสิ่งจาเจ อยู่กับเรื่อง เก่า ๆ เขาก็จะไม่ตื่นเต้น ไม่ตื่นตัว แต่จริง ๆ แล้ว อาการของลมหายใจเข้า ออกหรืออาการพองยุบนั้น มีอะไร “พิเศษ” มากกว่าที่เราเคยเห็น ให้สังเกต ดี ๆ ไม่ใช่แค่เข้าออกธรรมดา ยังมีอะไรที่พิเศษอยู่ที่อาการของลมหายใจเข้า ออก บางครั้งเปลี่ยนอย่างนั้น บางครั้งเป็นอย่างนี้ ถ้าเราใส่ใจดี ๆ สติเราจะมี แต่ความตื่นตัว แต่ถ้าเราไม่สังเกตให้ดี เราก็จะไม่เห็นว่าที่จริงแล้ว ในอาการ ของลมหายใจเข้าออกหรือพองยุบนั้น ยังมีอะไรที่พิเศษออกไป
การที่เราจะเห็นอะไรที่ละเอียดเข้าไป หรือต่างออกไปนั้น ก็ต้องอาศัย กาลังของสติและสมาธิของเราเป็นที่ตั้ง วิธีเพิ่มตัวสติหรือสมาธิคือ มีเจตนา และใส่ใจในการสังเกต เพราะตัวสังเกตเป็นตัวที่นามาซึ่งปัญญา ปัญญาที่เรา พ จิ า ร ณ า ก า ห น ด ร อ้ ู า ก า ร พ ร ะ ไ ต ร ล กั ษ ณ ข์ อ ง ร ปู น า ม ต ร ง น ี ้ จ ะ เ ป น็ ป ญั ญ า ท เี ่ ป น็ ไปเพื่อความดับทุกข์ ให้เรารู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมที่กาลังเป็นไป อยู่ ให้เราเห็นจริง ๆ ว่า รูปนามอันนี้เป็นอย่างนี้จริง ๆ หนอ เปลี่ยนแปลง อยู่สม่าเสมอ
แม้แต่ความคิดของเราเอง ก็ยังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ให้อยู่กับ เรื่องเดียวก็ยังไม่อยู่ เดี๋ยวเรื่องนั้นเดี๋ยวเรื่องนี้ แม้แต่ให้อยู่ที่พองยุบอย่าง เดียวยังไม่อยู่ เดี๋ยวก็วิ่งไปโน่นวิ่งไปนี่ นั่นแหละมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ