Page 118 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 118
100
แต่อย่างหนึ่งที่จะทาให้จิตสงบหรือรู้กับอารมณ์ปัจจุบันได้ง่ายก็คือ “พอใจ ที่จะรู้” พอใจที่จะกาหนดรู้ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ว่าเขาเกิดขึ้นมาแล้วดับ อย่างไร เกิดขึ้นแล้วหายไปอย่างไร มีแล้วดับอย่างไร เพราะฉะนั้น เวลาเรา กาหนดเจริญกรรมฐาน ให้โยคีสังเกตและพิจารณาให้ดี
กอ่ นทจี่ ะไดเ้ ปลยี่ นอริ ยิ าบถ หรอื ไดเ้ ดนิ จงกรมกนั นงั่ เจรญิ กรรมฐาน ต่ออีกนิดหนึ่ง สัก ๑๐ นาที ไม่นาน เพราะโยคีนั่งมานานแล้ว เดี๋ยวจะเมื่อย เพียงแต่ว่าการเปลี่ยนอิริยาบถ อย่างที่วิทยากรบอกไปแล้วก็คือว่า ตามหลัก แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทา พูด คิด ก็ให้มี “สติ” กาหนดรู้ทุก ๆ อาการ ประกอบกับการที่เราสมาทานปิดวาจา เราจะยิ่งเห็น ชัดถึงความคิด หรือจิตของเราที่มีการดิ้นรน อยากจะพูด อยากจะคุย อยาก จะสนทนา และจะทาให้เราเห็นด้วยว่า จิตเราจริง ๆ เป็นอย่างไร จิตของคน เราทาไมถึงไม่อยู่นิ่ง ทาไมถึงไม่สงบ ทาไมถึงอยากรู้โน่นอยากรู้นี่ตลอดเวลา ไม่มีที่สิ้นสุด!
การปฏิบัติธรรม นอกจากอารมณ์หลักในขณะที่เราเจริญกรรมฐาน หรือนั่งสมาธิ ยังมีอารมณ์ในอิริยาบถเดิน เขาเรียกว่า “เดินจงกรม” ขณะ ที่เดินจงกรม เราก็สังเกตแบบเดียวกันกับกาหนดรู้พองยุบนั้นแหละ ขอให้ ใส่ใจ มีสติอยู่กับการ ย่าง ก้าว ยก ย่าง เหยียบ ให้รู้ชัดถึงอาการเคลื่อนไหว ที่กาลังก้าวไปและกระทบลง ว่าเขามีอาการอย่างไร... เป็นเส้น เป็นคลื่น มี อาการสะดุด กระทบแล้วจางหาย หรือกระทบแล้วหายไป ?
ส่วนไหนใครที่ยังไม่เข้าใจ เดี๋ยวให้ถามตอนสอบอารมณ์ จะมีการ สอบอารมณ์ ถ้าเราไม่คุยกัน เราก็จะไม่เข้าใจว่าควรปฏิบัติอย่างไร หรือเมื่อ เจอปัญหาแบบนี้ ควรจะทาอย่างไรต่อไป เพราะสภาวะของแต่ละคนนั้น แตกต่างกัน บางคนเห็นอย่างนั้น บางคนเห็นอย่างนี้ บางทีก็รอคาตอบจาก เพื่อนว่าของเราเป็นอย่างไร กาหนดอย่างนี้ทาถูกไหม ทาแล้วไม่แน่ใจว่าผิด หรือถูก สภาวะที่เราเห็น บางครั้งมืดบ้าง บางครั้งก็สลัว ๆ บางครั้งก็สว่าง