Page 158 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 158
140
แม้ได้ช่วยสัตว์ตัวเล็ก ๆ เราก็รู้สึกดีใจ มีความสุขใจ ยิ่งได้ช่วยคน ยิ่งรู้สึก ดีใจ ยิ่งมีความสุข ยิ่งได้ช่วยตัวเองให้มีความสุขเท่าไหร่ เรายิ่งมีความสุข มากเท่านั้น แต่ไม่ใช่เบียดเบียนคนอื่นนะ ความสุขแบบนี้ไม่เบียดเบียน คนอื่น ความสุขที่เกิดจากการเบียดเบียนคนอื่น ก็จะเป็นการสร้างกรรมใหม่ ขึ้นมา เราสุขเขาทุกข์นี่ ก็ต้องพิจารณา
เพราะฉะนั้น ต้องเป็นความสุขที่ไม่มีตัวตน ความสุขแบบไม่มีตัวตน จะไม่เบียดเบียนคนอื่น แต่ถ้าความสุขที่เบียดเบียนคนอื่น สังเกตไหม เขา อาศัยกิเลสตัวไหน ? โลภะ โทสะ โมหะ ถ้าได้เบียดเบียนคนอื่นสักนิดหนึ่ง รู้สึกดีใจจังเลย รู้สึกสบายใจ ตรงนี้เขาเรียกว่า “เข้าใจผิด” เพราะการสร้าง กรรมตรงนี้มันจะวนกลับมาหาเราเอง ถ้าเป็นความสุขที่เกิดจากการละตัวตน เมื่อไม่มีเรา ถามว่า ความสุขที่เกิดขึ้นนั้นมีตัวโลภะอยู่ด้วยไหม ? สุขอย่างมี สติ สุขได้โดยที่ไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น ตรงนี้นาไปใช้กับชีวิตของเรา
ทาบุญแล้วระลึกถึงบุญบ่อย ๆ เหมือนเราสร้างเรือลาใหญ่โตเพื่อที่ จะอาศัยข้ามฝั่ง สร้างเสร็จ ก็ไม่เอาแล้วเดี๋ยวจะติดเรือ กระโดดลงทะเล ดีกว่า ว่ายน้าข้ามฝั่งเอา! ขึ้นฝั่งก่อนแล้วค่อยปล่อยเรือ บุญของเราก็ เหมือนกัน เราอาศัยเขาไปก่อน เพราะอะไร ? เวลาจิตเราเป็นบุญ ทาอะไร ก็รู้สึกดีไปหมด คิดถึงอะไร จิตเราก็มีพลัง ก็สมหวัง หรือสาเร็จ ทาได้ง่าย ทาด้วยความสุข เพราะฉะนั้น จึงบอกว่าทาใจให้ว่าง เติมความสุขให้ตัวเอง แล้วเอาความสุขไปใช้
ถ้าเอาความสุขไปใช้ทุกวันได้ แค่นี้ก็ดีมากแล้ว ไม่ต้องไปหาอะไร มากหรอก! สุขได้ทุกวันนี่หาได้น้อยเต็มทีแล้ว คนที่จะมีความสุขได้ทั้งวัน ทุกวัน เราก็อย่าให้คนอื่นเป็น เราเป็นเสียเอง ไม่ต้องรอให้คนอื่นสุขให้เรา เป็นผู้ดู เราก็ให้คนอื่นดูเรา เออ! คนนี้มีความสุขได้ทั้งวัน นี่แหละคือธรรมะ ที่เอาไปใช้กับชีวิตของเรา เพราะฉะนั้น ธรรมะกับชีวิตไม่ได้แยกกัน ถ้าแยก กันเมื่อไหร่ ชีวิตก็จะมีแต่ทุกข์ แล้วตัวธรรมะจริง ๆ ตัวสาคัญคือ ศีล สมาธิ