Page 157 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 157
139
เป็นการปรุงแต่งไหม ? ปรุงแต่งแล้วผิดตรงไหน ? ทาอาหารเรายังปรุงเลย ใช่ไหม ? จิตเรา ปรุงให้มีความสุข ใครที่ปรุงให้ตัวเองมีความสุขแบบนี้ ไม่มี พิษมีภัยกับคนอื่น เพราะความสุขแบบนี้จะมีแต่เมตตาคนอื่น อยากให้เขามี ความสุขด้วย
ที่จริงแล้วความสุขแบบนี้ เขาเรียกว่า “ไม่ได้ปรุงแต่ง” ไม่ใช่คิดให้สุข แต่ระลึกถึงความสุขที่เคยเกิดขึ้นแล้ว นั่นคือ “การยกจิตขึ้นสู่ความสุข” และ เป็นความสุขที่ไม่ต้องอิงอามิส ไม่ต้องอาศัยวัตถุ เขาเรียก “นิรามิสสุข” สุข ที่ไม่ต้องอิงอามิส แค่ระลึกถึงก็สุขแล้ว เทวดาชั้นนิมมานรดี ใช่ไหม ? แค่ คิดก็สาเร็จ อยากได้อะไรก็คิดเอาคิดเอา แต่เราฝึกเอาไว้ บางครั้งก็ระลึกได้ บางครั้งก็ระลึกไม่ออก เพราะไม่ค่อยได้ระลึกถึง ส่งเขาไปอยู่ไกล ๆ กว่าจะ ระลึกทีก็ไม่รู้อยู่ตรงไหนแล้ว ทาบุญมาเยอะแยะตลอดชีวิต แต่คิดถึงเขาไม่ ออก จาไม่ได้ว่าความสุขที่เกิดจากการทาบุญนั้นเป็นอย่างไร
และอีกอย่างหนึ่ง ที่บอกว่าไม่ผิดตรงนี้ก็คือว่า ถ้าเป็นเรื่องอนุสติ ๑๐ เขาเรียก “ปุญญานุสติ” ระลึกถึงบุญที่เราได้ทาไปแล้ว ระลึกทาไม ? เติม ใจเราให้มีพลังของความดี พอเรามีพลังของความสุข เมตตาเกิด พอเมตตา เกิด ความดีที่เราจะทานั้น เราจะได้ทาจากใจจริง ๆ ทาด้วยความเต็มใจ ทาด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทาด้วยความสบายใจ นั่นแหละความดีต่อความดี เพราะฉะนั้น ความสุขที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ อาจารย์จึงบอกว่าไม่ต้องกลัว ติดสุข ให้สุขไปก่อน ที่เขาไม่ให้ติดสุข คือไม่ให้ติดความสะดวกสบายจนเกิน ไป เดี๋ยวอ่อนแอ นี่ถ้าแอร์อ่อน เราก็ร้อนแล้ว เราติดแอร์ ถ้าไม่ติดแอร์ เรา ก็อยู่ยาก ใช่ไหม ? เราติดแอร์ จะได้เย็น
จิตเราก็เหมือนกัน ถ้าเราให้ความสุขติดอยู่ในใจอยู่เนือง ๆ จิตเราก็ จะเย็นตลอดทั้งวัน คนที่มีความสุขคือคนที่อิ่ม ลองสังเกตดูว่า ทาอย่างไรใจ เราถึงจะอิ่มได้ ? ใจไม่เคยอิ่มด้วยความไม่ดี ใจจะอิ่มต่อเมื่อเห็นสิ่งที่ดี และได้ทาความดี สังเกตไหมว่า เวลาทาความดี รู้สึกปีติ รู้สึกอิ่มใจจังเลย