Page 159 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 159

141
ปัญญา ย่อลงมาก็เหลือแต่ตัว “สติ” กับ “ปัญญา” ฉะนั้น ในชีวิตของคนเรา ถ้าขาดสติขาดปัญญา อันนั้นลาบาก
เห็นไหมว่า ชีวิตทั้งชีวิตเรา คือก้อนของธรรมะ เพราะฉะนั้น เรามา นั่งตรงนี้พิจารณาอะไร ? ก็พิจารณาชีวิตของเรา อาการของรูปนามขันธ์ ๕ นี่คือก้อนธรรมะ พระพุทธเจ้าตรัสถึงรูปนามขันธ์ ๕ นี่แหละคือธรรมะ ไม่ให้เรายึดติดกับรูปนามขันธ์ ๕ อันนี้ เพราะอะไร ? ที่เราสวดมนต์ การ เข้าไปมีอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ เกิดขึ้นมาแล้ว ไม่ให้ไปยึด แต่ไม่ใช่ไม่ให้อาศัยนะ “อาศัยได้แต่ไม่ยึด” เพราะเกิดขึ้นมาแล้ว จะสละ ละทิ้งก็เป็นเรื่องยาก
สังขารทั้งหลายก็ยังต้องอาศัย เพราะเรายังต้องคิดการงาน พิจารณา ในสิ่งที่เราต้องทา ความจาก็ยังต้องอาศัย คือตัวสัญญา ถ้าทาอะไรแล้วจา ไม่ได้ ก็มีปัญหาตามมา เวทนาก็ต้องมี เพราะร่างกายนี้เกิดขึ้นมาแล้ว เวทนา ทางกาย เจ็บ ปวด เมื่อย ชา คัน นั้นเป็นเรื่องของธรรมชาติ พระพุทธเจ้า บอกว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา เราปฏิเสธเขาไม่ได้ แต่ถ้าใคร ไม่ทุกข์กับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ คนนั้นไม่ธรรมดา! ไม่ทุกข์กับเรื่อง ธรรมดา ๆ นี่ กลายเป็นคนไม่ธรรมดาไปเลย
สังเกตดูนะ เวลาที่เรามีเวทนาเกิดขึ้น แล้วเราทนได้ เรารู้สึกเลยว่า เราไม่ธรรมดานะนี่ เราเก่งเหมือนกัน! ใช่ไหม ? เราแยกระหว่างเวทนากับ จิตเราออกจากกันได้ รู้สึกสบายจังเลย ทาไมถึงเรียกว่า “ไม่ธรรมดา” ? เพราะคนธรรมดาทาไม่ได้ แต่เราเป็นผู้เจริญสติ ทาได้! แม้เจริญสติด้วยกัน ๑๐๐ กว่าคน ทาได้กี่คน ? เห็นไหม ฉะนั้น จึงถือว่าไม่ธรรมดา การที่เรา มีสติกาหนดรู้เท่าทันความคิดของตนเอง แล้วไม่คล้อยตามเขา ความคิดที่ เป็นอกุศลเกิดขึ้น แล้วเราก็ดับได้ ดับได้ หรือเข้าไปรู้เห็นการดับของเขาแล้ว ไม่คล้อยตาม ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถบีบคั้นจิตใจของเราให้เป็น ทุกข์ได้ นั่นถือว่าไม่ธรรมดา!


































































































   157   158   159   160   161