Page 155 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 155
137
ลองพิสูจน์ดู เวลาคิดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ลองดู ให้จิตที่เบา ๆ ว่าง ๆ กว้างกว่าเรื่องที่คิด แล้วรู้สึกอย่างไร ? วิธีที่จะให้ชัด ถ้าเราทาจิตให้เบาว่าง ได้แล้ว เปรียบเทียบกันดู คิดถึงเรื่องที่ไม่สบายใจแล้วรู้สึกอย่างไร ? โดย ปกติแล้ว เราคิดถึงเรื่องที่ไม่สบายใจ รู้สึกหนักหรือเบา ? วิธีดับความหนัก แค่ขยายความรู้สึกหนักให้กว้างออกไป จากนั้นลองคิดใหม่ คิดถึงเรื่อง เดิม แต่ให้จิตกว้างกว่าเรื่องที่คิด แล้วสังเกตดูว่า คิดแล้วยังหนักอีกไหม ? หรือแค่รู้สึกมีความคิดเกิดขึ้น แล้วรู้สึกว่าง ๆ ? นี่คือการเอาจิตที่ว่างเบาไป ใช้งาน
เวลาเราเดิน เอาจิตที่ว่าง ๆ ให้กว้างกว่าตัว แล้วมาไว้ข้างหน้า แล้ว เดินเข้าไปในความว่างได้หรือเปล่า ? อันนี้คือเอาจิตที่ว่างเบาไปใช้งาน และ อีกอย่างหนึ่ง สังเกตไหมว่า เรานั่งอยู่ตรงนี้ เราสามารถแผ่จิตที่ว่าง จิตที่ เบาให้กว้างเท่าห้องนี้ได้ กว้างเท่าห้องแล้วเรารู้สึกสบายไหม ? เพราะฉะนั้น เวลาเราไปถึงที่ทางาน ปล่อยจิตของเราให้กว้าง กว้างกว่าห้อง กว้างกว่าโต๊ะ ทางาน กว้างกว่างานที่ต้องทา แล้วสังเกตดูว่า ใจเรารู้สึกอย่างไร ?
ตอ่ ไปทบทวนอกี นดิ หนงึ่ “วธิ เี ตมิ ความสขุ ใหต้ วั เอง” ลองเอาใจทเี่ บา ๆ ว่าง ๆ มาใส่บริเวณหัวใจของเรา เขาเรียกบริเวณหทยวัตถุ ระหว่างคอถึง ลิ้นปี่ แล้วสังเกตดูว่า ใส่ความว่างเบาเข้าไปแล้ว รู้สึกเป็นอย่างไร ? มันโล่ง ๆ เบา ๆ แล้วเมื่อรู้สึกโล่ง ๆ เบา ๆ ลองเติมความนิ่มนวลอ่อนโยนเข้าไปในใจ ที่โล่ง ๆ เบา ๆ ของตัวเอง เพิ่มความนิ่มนวลอ่อนโยนเข้าไปในใจที่โล่ง ๆ เบา ๆ ลองดูว่า ถ้าเติมความนิ่มนวลอ่อนโยนเข้าไปแล้ว จิตใจเรารู้สึกเป็น อย่างไร ? รู้สึกดี รู้สึกไม่ดี รู้สึกนิ่มนวล รู้สึกอ่อนโยน รู้สึกอิ่มใจ รู้สึกมี ความสุข ?
หรือถ้าใครนึกถึงความนิ่มนวลอ่อนโยนไม่ออก นึกถึงบุญกุศลที่เรา ได้ทาก็ได้ นึกถึงเวลาเราทาบุญแล้วรู้สึกอิ่มใจสบายใจ ลองเอาความรู้สึก อิ่มใจความสบายตรงนั้นแหละมาใส่เข้าไปในใจที่ว่าง ๆ ของตัวเอง เติมลง