Page 154 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 154
136
นี่แหละทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ยังทาได้ไหม ? ฟังเพลินอีกแล้ว ลอง ดูนะ เดี๋ยวพอฟังเพลิน อาจารย์พูดจบ เราก็จบ กลับไปทาไม่ได้อีกเหมือน เดิม ลองดูนะ ทบทวนนิดหนึ่ง จะได้กลับไปใช้ได้ ก็คือวิธีเติมความสุข ให้ตัวเองนั่นแหละ จริง ๆ แล้ว การฝึกแต่ละอย่าง ถ้าเรารู้สึกว่าการทาใจ ให้ว่าง การใช้จิตที่ว่างทาหน้าที่รับรู้ มีประโยชน์กับเรา ขอให้ทาให้ชานาญ ทาให้ชัด อาการเกิดดับอย่างอื่นก็จะปรากฏชัดขึ้นมาเอง ถ้าจิตเราว่าง จิต เราสงบ
ทาจิตให้ว่าง หรือที่เรียกว่า “ยกจิตขึ้นสู่ความว่าง” วิธีทาให้ว่างคงรู้กัน แล้ว จะทบทวนอีกทีหนึ่ง น้อมจิตมาข้างหน้าในที่ว่าง ๆ แล้วสังเกตว่า จิตใน ที่อยู่ในที่ว่าง ๆ รู้สึกอย่างไร ? รู้สึกหนัก รู้สึกเบา รู้สึกโล่ง ๆ รู้สึกโปร่ง ๆ ? ถ้าจิตที่อยู่ข้างหน้ารู้สึกเบา ๆ โล่ง ๆ ปล่อยจิตที่เบาโล่งให้กว้างออกไป หรือ ขยายจิตที่โล่ง ๆ ให้กว้างออกไป ให้กว้างออกไป กว้างกว่าตัว กว้างเท่ากับ ศาลา เท่ากับห้องนี้
วิธีสังเกตคือ กว้างออกไปแต่ครั้ง ให้ความรู้สึกต่างกันอย่างไร ? เขา โล่งมากขึ้น เบามากขึ้น หรือว่าเท่าเดิม ? ปล่อยออกไปให้กว้าง เต็มห้องนี้ แล้วก็ให้จิตที่เบาว่างนี้กว้างออกไป ไม่มีขอบเขตไม่มีประมาณ ลองดู ขยาย ออกไปให้กว้าง ไม่มีขอบเขต เท่ากับท้องฟ้าไปเลย หรือเท่ากับจักรวาลไปเลย ลองดูนะว่า ใจเราให้กว้างเท่าจักรวาล ใจที่กว้างเท่ากับจักรวาลรู้สึกอย่างไร ? รู้สึกดีไหม ? สังเกตว่า ใจที่กว้าง ที่เบา รู้สึกสงบหรือเปล่า ? อันนี้คือวิธี ทาใจให้ว่าง และการดูจิตตัวเอง
และการที่เราจะได้ประโยชน์จริง ๆ ก็คือ ลองสังเกตดูว่า จิตที่โล่ง จิตที่ว่าง หรือจิตที่เบา เขาสามารถทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้หรือเปล่า ? อย่างเช่น ขณะได้ยินเสียง ให้จิตที่ว่าง ๆ เบา ๆ ทาหน้าที่รับรู้ได้ไหม ? ขณะ ที่รู้ว่านั่ง ให้จิตที่ว่าง ๆ เบา ๆ เป็นผู้รู้ได้หรือเปล่า ? แล้วถ้าเอาจิตที่ว่าง ๆ เบา ๆ ทาหน้าที่รับรู้ สังเกตดูว่า จิตใจเรารู้สึกเป็นอย่างไร ? รู้สึกดี ไม่ดี ?