Page 163 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 163

145
บัลลังก์ ให้มีความต่อเนื่องในการเจริญสติของเรา
การมาปฏิบัติอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เมื่อเราตามรู้อารมณ์
ต่าง ๆ มีอารมณ์หลักชัดเจนให้กับจิตของเรา จะทาให้สมาธิเราตั้งมั่น หรือ สติเราอยู่กับปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง แม้แต่การเดินจงกรม การเดินจงกรม ที่เรามาเดินอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ ที่เราทาและพิจารณาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ เห็นอาการพระไตรลักษณ์ หรืออาการเกิดดับของรูปนามของเรา ทั้งขณะนั่ง และขณะเดิน เราพิจารณาอาการเกิดดับของรูปนามเป็นสาคัญ
การพิจารณาอาการเกิดดับของรูปนาม เป็นไปเพื่ออะไร ? เป้าหมาย ของการปฏิบัติจริง ๆ คือ เราต้องการที่จะดับทุกข์ ปฏิบัติเพื่อจะได้ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้น วิธีการปฏิบัติ การพิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ ก็เป็นไป เพื่อความดับทุกข์ ดับทุกข์ได้อย่างไร ? โดยปกติ คนเรามีความทุกข์เกิดขึ้น มา ก็เพราะว่าเราเห็นแต่ความเที่ยงของอารมณ์ต่าง ๆ รูปเที่ยง สัญญาเที่ยง สังขารเที่ยง วิญญาณเที่ยง และมีเราเป็นผู้รับรู้ว่ามันเที่ยง
เมื่อรู้สึกว่าทุกอย่างเที่ยง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ก็เกิดทุกข์! และเมื่อรู้สึกว่าเราต้องบังคับได้ ต้องเป็นอยู่อย่างนี้เสมอไป พอเขาเปลี่ยน ไป เราก็เป็นทุกข์! พออยากให้เกิด ไม่เกิด ก็เป็นทุกข์! อยากให้ดับ ไม่ดับ ก็เป็นทุกข์! แต่จริง ๆ แล้ว รูปนามขันธ์ ๕ เกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ และดับไป... เกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ และดับไป... ไม่มีอะไรเที่ยงเลย เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ จิต แต่เราก็พยายามทาให้เขาเที่ยง
อย่างลมหายใจของเรา ที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าออกอยู่ตลอดเวลา นั่นคือธรรมชาติ การที่ลมหายใจหรือพองยุบเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทาให้ร่างกายของเรามีการพัฒนาไปได้ ทาให้เราเจริญเติบโตได้ ถ้าลมหายใจ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คิดดูว่าจะเป็นอย่างไร ? หายใจเข้า ไม่หายใจออก ก็ ตาย! หายใจออก ไม่หายใจเข้า ก็ตาย! เราอยู่กับความเปลี่ยนแปลงตลอด อันไหนเปลี่ยนไปตามที่เราปรารถนา เราก็รู้สึกดีใจ แต่อันไหนที่ไม่เปลี่ยนไป


































































































   161   162   163   164   165