Page 164 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 164

146
ตามความต้องการ เราก็จะรู้สึกทุกข์ใจหรือไม่สบายใจ
เพราะฉะนั้น การมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานตรงนี้ เพื่อให้เราได้
พิจารณารายละเอียดของสภาวธรรมให้มากขึ้น จะได้เห็นว่า จริง ๆ แล้ว สิ่งที่ เกิดขึ้นกับเรา ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ไม่ว่าเราจะยึดหรือปล่อยวาง ก็ตาม เขาก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป... เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป... ทั้งความรู้สึกที่ดีและไม่ดี ทั้งความสุขความทุกข์และ อุเบกขา ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เราจะยึดสิ่งใดได้ ? สิ่ง ที่เราทาได้ คือ ทาอย่างไรให้จิตเราอิสระจากการเข้าไปยึดในอารมณ์ต่าง ๆ
อารมณ์ต่าง ๆ คืออะไร ? ก็คืออาการของรูปนาม ขันธ์ ๕ นั่นเอง! ที่บอกว่ารูปนามขันธ์ ๕ ก็คือชีวิตของเรา อารมณ์ภายในที่เกิดกับเรา กับ อารมณ์ภายนอกที่เข้ามากระทบทางทวารทั้ง ๖ ก็คือ อาการของรูปนามขันธ์ ๕ เสียงที่ได้ยิน ก็เป็นแค่รูปที่เข้ามากระทบหู ใจรู้ ก็เป็นแค่นามที่เข้าไปรับรู้ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน แต่หลังจากนั้น เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นมา เราทาอย่างไรกับเวทนา ? เป็นสุขเวทนา ก็พยายาม ยึดเอาไว้ เมื่อเป็นทุกขเวทนา ก็พยายามที่จะต่อต้านหรือผลักดัน เราพยายาม บังคับให้เป็นอย่างที่เราต้องการ
อย่างที่ท่านผู้อานวยการพูดเมื่อกี้แหละ เราปฏิบัติแล้วอยากได้เร็ว ๆ ต้องได้เดี๋ยวนี้ ต้องได้วันนี้ เวลานี้! เข้ามา ๓ วัน เราต้องทาให้ได้! ถามว่า ได้อะไร ? สิ่งที่เราอยากได้ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่บังคับไม่ได้ แต่ สิ่งที่ตัวเองได้ กลับมองไม่เห็น! เคยสังเกตไหม เรารู้สึกไม่ได้อะไรเลย คือ ไม่ได้ความสุข ไม่ได้ความว่าง ไม่ได้ความสงบ แต่สิ่งที่เรา “ได้” คืออะไร ?
สิ่งที่เราได้ คือ ได้ทาความดี สิ่งที่เราได้ คือ ได้เจริญสติ การที่เรา ได้เจริญสติ พอใจที่จะรู้อารมณ์ในขณะนี้ ถึงแม้เราไม่สามารถดับอารมณ์ได้ แต่อย่างน้อยก็เป็นการพัฒนาสติของตัวเอง อย่างน้อยก็เป็นการพัฒนาความ อดทนของตวั เอง ขนั ตขิ องตวั เอง นนั่ แหละคอื สงิ่ ทเี่ ราได!้ และเรากไ็ ดฟ้ งั อะไร


































































































   162   163   164   165   166