Page 166 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 166

148
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราก็จะติดนิสัยการพิจารณา หรือการสังเกต รายละเอียดของสิ่งนั้นเหมือนกัน เพราะเป็นความเคยชิน จากที่เราเคยมอง ข้าม มองผ่าน ๆ เห็นอะไรก็ไม่ชัด ต่อไปเราก็จะชัดขึ้นว่า ดีอย่างไร ไม่ดี อย่างไร มีช่องว่างตรงไหน สติเราขาดหายไปช่วงไหน หรือช่วงที่มีสติดี ดี อย่างไร เวลาสติไม่มี ไม่ดีอย่างไร นั่นแหละผลที่จะตามมา อันนี้อย่างหนึ่ง ที่เราจะได้ไปจากการที่เรามาฝึกตรงนี้ ให้โยคีทุกคนนาไปพิจารณา
และอีกอย่างหนึ่งที่ขอฝากไว้ อยากให้เรานาไปใช้เสมอ ๆ ก็คือ เรา ทาใจให้ว่างได้ ให้สงบได้ ให้มีความสุขได้แล้ว ให้เอาใจที่สุข เอาใจที่สงบ เอาใจที่ว่าง ไปใช้ประโยชน์กับชีวิตของเรา ที่บอกว่า ใจที่สุข ใจที่ว่าง ใจที่ สงบ เป็นสมาธิ แต่ถ้าใจที่สงบ หรือใจที่ว่าง ทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ได้ ตัวเขา จะกลายเป็นตัว “สติ” ทันที มีสติในการรับรู้อารมณ์ชัดเจน รู้อะไรก็รู้ชัด จะ มีทั้งสติและสมาธิในตัว พร้อมด้วยเมตตาถ้าขณะนั้นจิตเรามีความสุข
เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้เรานาไปใช้กับชีวิตของเรา นาไปใช้ให้เป็น เรื่องปกติ แล้วเราจะรู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมไม่ใช่ภาระ แต่การปฏิบัติธรรม คือ “หน้าที่” ที่เราทาทุกวัน เหมือนเราตื่นเช้าขึ้นมา เราก็ล้างหน้า แต่งหน้าให้ ดูดี ลองตื่นเช้าขึ้นมา ยกจิต ทาจิตให้ว่าง เติมความสุขให้ตัวเอง นอกจาก แต่งหน้าแล้วก็แต่งใจ ให้เกิดความงดงาม เกิดความสุข เกิดความอิ่มใจ สบายใจ พร้อมที่จะทากิจกรรมต่อไป เราก็จะดาเนินชีวิตอย่างมีความสุข อยู่ ด้วยธรรม มีธรรมะเป็นที่พึ่งอยู่ในใจของเราเสมอ อันนั้นเป็นสิ่งสาคัญ
เราเป็นชาวพุทธ เราเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอน เรื่องอะไร ? สอนให้รู้จักทุกข์ รู้ถึงความดับทุกข์ รู้วิธีดับทุกข์ และรู้ว่าทุกข์ดับ แล้ว เมื่อทุกข์ดับแล้วสภาพจิตใจเป็นอย่างไร อันนั้นแหละผลที่ตามมา ถาม ว่า จาเป็นต้องดับตลอดไปเลยไหม ? ดับชั่วขณะก็ถือว่าดับ เขาเรียก “ตทัง ควิมุตติ” หลุดพ้นชั่วขณะหนึ่ง ๆ เวลาทุกข์ขึ้นมา เรามีสติเข้าไปรู้ แล้วมันก็ หายไป กลายเป็นความว่าง ความสุขขึ้นมา นั่นก็เป็นการหลุดพ้นจากความ


































































































   164   165   166   167   168