Page 167 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 167

149
ทุกข์ แม้ชั่วขณะหนึ่ง ๆ ก็ถือว่าเป็นอานิสงส์อย่างมากแล้ว ถึงแม้ไม่ใช่สมุจ เฉทวิมุตติ ยังไม่หลุดพ้นอย่างสิ้นเชิงก็ตาม แต่จงพอใจในขณะที่เราสามารถ ดับความทุกข์ได้ หลุดพ้นจากอารมณ์นั้นได้ แม้ชั่วขณะหนึ่ง ๆ
บางทีเรามองข้ามความรู้สึกตรงนี้ไป เวลาเราดับความทุกข์ได้ เรา มองข้ามตรงที่ “ความทุกข์หาย” แล้วเราก็ไปแสวงหาความสุข แล้วก็จะเจอ แต่ทุกข์ ลองสังเกตใหม่ เมื่อไหร่ก็ตามที่ใจเราไม่ทุกข์ ให้ “พอใจ” ในความ ไม่ทุกข์นั้น... ให้รู้จักพอใจในความไม่ทุกข์ แล้วความสุขจะเกิดขึ้น! ถ้าเรา มองข้ามความไม่ทุกข์ของตัวเอง จิตเราก็มีแต่เฉย ๆ รอรับอย่างเดียว คือ รอความทุกข์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น พอความทุกข์ใหม่เกิดขึ้น เราก็จะรู้สึกว่า ทุกข์ ตลอดเวลา เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ทุกข์...
ตอนที่ทุกข์หายไป ไม่ใส่ใจ! แสดงว่าเราไม่ได้สังเกตใจเราอย่างต่อ เนื่อง เราเลือกที่จะใส่ใจ แล้วก็เลือกที่จะใส่ใจในสิ่งที่ทาให้ตัวเองเป็นทุกข์ ด้วย อันนี้ต้องลองพิจารณาดูนะ ลองเปลี่ยนใหม่ดู แทนที่จะให้ความสาคัญ กับสิ่งที่ทาให้เราทุกข์ ลอง “ใส่ใจในสิ่งที่ทาให้เราไม่ทุกข์” บ้าง แล้วชีวิตเรา ก็จะสงบเย็น เราก็จะเจอแต่ความสุขอยู่เนือง ๆ เป็นระยะ ๆ นึกขึ้นได้เมื่อ ไหร่ ตอนนี้ฉันไม่ทุกข์ พอใจ มีความสุข! ไม่ใช่พอแล้วนะ คาว่า “พอใจ” กับ “พอแล้ว” คนละอย่างกัน!
ลองดูสิ ถ้าเราพอใจเมื่อไหร่ เราจะยิ่งมีความสุขมากขึ้น แต่ถ้า พอแล้ว มันจะหยุด แต่สาหรับเรื่องกิเลสเรื่องความทุกข์ ควรจะพอได้แล้ว! มาพอใจกับความสุขความสงบของตนเอง นี่แหละคือส่วนสาคัญ เรามีเวลา น้อย แค่ไม่กี่วัน แต่สิ่งสาคัญ ถ้าเราสามารถนาธรรมะที่เราได้ปฏิบัติแล้วไป ใช้ได้ นั่นถือว่าไม่ได้น้อยตามวัน เพราะยังมีอีกหลายวันในชีวิตของเรา เรา สามารถเอาไปใช้ได้ทุกวัน ทุกวัน... ขอให้พอใจที่จะทาเท่านั้นเอง ตรงนี้ก็ ขอฝากเอาไว้


































































































   165   166   167   168   169