Page 184 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 184

166
เพราะฉะนั้น เมื่อไรก็ตามที่เรารู้สึกว่า เวลานั่งกรรมฐานแล้ว กลัวว่า อารมณ์ภายนอกจะมารบกวนเราให้เกิดความราคาญ หรือเกิดอาการหงุด หงิด รบกวนการกาหนดการปฏิบัติของเรา ถ้าใช้ความรู้สึกที่ว่างเบาคลุมตัว แล้วแผ่ออกไปให้กว้าง เราจะรู้สึกว่าเรานั่งอยู่คนเดียวในที่ว่าง ๆ ในความ สงัดความสงบ อารมณ์ภายนอกก็จะไม่รบกวน ถึงแม้ได้ยินก็จะเป็นอารมณ์ ที่อยู่ไกล ๆ จะทาให้เรารู้สึกว่าไม่ต้องปฏิเสธอารมณ์ภายนอก เพราะอะไร ? เพราะเรานงั่ อยใู่ นความวา่ ง ทวี่ า่ งไดเ้ พราะอะไร ? วา่ งไดก้ เ็ พราะจติ เราวา่ ง จติ เราว่างจากอะไร ? ว่างจากตัวตน ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรา มีแต่รูปกับนามที่ ทาหน้าที่อยู่ มีสติตามรู้อาการที่กาลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเรา
ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่จิตเราว่าง จิตเราเบา ไม่มีเรา สังเกตดู จะมีอาการ เกิดดับปรากฏขึ้นมาข้างหน้าบริเวณหน้าเรา หลับตาแล้วลองสังเกตบริเวณ หน้า เขาจะมีอาการเกิดดับอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นมา ทั้งบริเวณหน้า และบริเวณตัวของเรา อย่างใดอย่างหนึ่งจะปรากฏ บางทีถ้าเรากาหนดพอง ยุบ พอจิตเราว่างเบาเมื่อไหร่อาการพองยุบก็ปรากฏชัดเอง โดยที่เราไม่ต้อง ไปพยายามบังคับให้เขาชัด และการกาหนดรู้ชัดในสภาวธรรมที่เกิดขึ้น สิ่ง หนึ่งที่ต้องเข้าใจก็คือว่า คาว่า “ชัดในสภาวธรรมที่เกิดขึ้น” ไม่ใช่อาการรุนแรง แต่เป็นการ “รู้ชัดในอาการที่กาลังปรากฏอยู่”
อย่างเช่น เรารู้สึกว่าอาการพองยุบเล็กมาก ๆ เท่ากับปลายเข็ม ชัด มากเลยว่าเขาเล็กนิดเดียวเท่ากับปลายเข็มแล้วมีอาการกระพริบ ๆ อันนี้เขา เรียกว่าอาการเกิดดับชัดเจน กับความไม่ชัด ก็คือรู้สึกหายใจแรง แต่อาการ เกิดดับของพองยุบไม่ชัด รู้แต่ว่าหายใจเข้าออกแรง ๆ กับขยับอยู่แรง ๆ แต่ ไม่เห็นลักษณะอาการเกิดดับของเขา สิ้นสุดยังไงก็ไม่รู้ จบยังไงก็ไม่เห็น นั่น คืออาการไม่ชัด หรือว่าลักษณะของความไม่ชัดที่เกิดขึ้นคือ เมื่อสติเราอ่อน แล้วรู้สึกมัว ๆ สลัว ๆ หรือตัวถีนมิทธะเข้ามา เกิดอาการง่วงซึม การรับรู้ อารมณ์ต่าง ๆ ก็ไม่ชัด... และการที่กาหนดรู้ชัด ให้รู้ชัดทั้งหมดในอารมณ์


































































































   182   183   184   185   186