Page 182 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 182
164
สังเกตอีกนิดหนึ่ง ความรู้สึกที่โล่ง ๆ โปร่ง ๆ ที่กว้างกว่าตัว เขา บอกว่าเป็นใครหรือเปล่า ? บอกว่าเป็นเราไหม ? ไม่บอกนะ แล้วย้อนกลับ มาดูตัวที่นั่งอยู่ ขณะที่ความรู้สึกหรือจิตเรากว้าง แล้วก็โล่ง ๆ เบา ๆ ตัวที่ นั่งอยู่ รู้สึกหนักหรือเบา ? ขณะที่หนัก จิตยังกว้าง หรือแคบลง ? แคบลง ใช่ไหม ? ทีนี้ ลองให้จิตเรากว้าง แล้วย้อนกลับมาดูตัวที่นั่งอยู่ ขณะจิตที่ โล่งเบา ไม่บอกว่าเป็นเรา ตัวที่นั่งอยู่เขาบอกว่าเป็นใครหรือเปล่า ? ไม่ใช่จา ได้นะ ตัวความจากับความรู้สึกที่เขาบอกหรือไม่บอก คนละอย่างกัน!
เหมือนเมื่อกี้ จิตที่โล่งว่าง เขาไม่บอกว่าเป็นใคร ตัวที่นั่งอยู่ เขาบอก ว่าเป็นใครหรือเปล่า ? ขณะที่ไม่บอกว่าเป็นใคร ตัวที่นั่งอยู่รู้สึกหนักหรือ เบา ? มีตัวหรือไม่มี ? เอาจิตที่ว่างเบาย้อนกลับมาดูรูปที่นั่งอยู่ รูปที่ตั้งอยู่นี้ บอกว่าเป็นใครหรือเปล่า ? หรือแค่รู้สึกเหมือนสิ่ง ๆ หนึ่งที่ตั้งอยู่ ? จิตที่ว่าง เบาไม่บอกว่าเป็นใคร รูปที่นั่งอยู่ไม่บอกว่าเป็นใคร จิตใจรู้สึกเป็นอย่างไร ? รู้สึกโปร่ง รู้สึกสบาย รู้สึกสงบ ตรงนี้เขาเรียก “เห็นความเป็นอนัตตา” จิต ไม่บอกว่าเป็นเรา รูปไม่บอกว่าเป็นเรา ไม่ใช่แค่ความคิดว่าไม่เป็นเรา แต่ “รู้สึกได้” ว่าเขาไม่บอกว่าเป็นเราหรือเป็นใคร อันนี้คือความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่รูปกับนาม การแยกรูปนามแล้วเห็นชัดว่า จิตที่ว่างเบา กับรูปที่นั่งอยู่ ก็คนละส่วนกัน
ทีนี้ต่ออีกนิดหนึ่ง จิตที่ว่างเบาสามารถเคลื่อนย้ายที่ได้ไหม ? ได้นะ ลองย้ายจิตที่เบา ๆ มาไว้ที่บริเวณมือรู้สึกเป็นอย่างไร ? หนักหรือเบา ? ทีนี้ ย้ายความรู้สึกที่เบา ๆ ไปที่สมองของเรา ให้ทะลุสมองไปเลย ลองดู บริเวณ สมองรู้สึกเป็นอย่างไร ? รู้สึกโล่ง โปร่ง สงบนะ ลองเอาจิตที่เบา ๆ มาไว้ บริเวณหน้า ลองดู หน้าเรารู้สึกเป็นอย่างไร ? บริเวณหน้ารู้สึกหนัก เบา ผ่องใส ? ผ่องใสนะ ทีนี้ลองย้ายจิตที่เบา ๆ มาไว้บริเวณหัวใจของเรา บริเวณ หทยวัตถุจากคอถึงลิ้นปี่ทั้งหมดเลย เขาเรียกบริเวณส่วนที่ ๒ ใส่ความรู้สึก ที่โล่ง ๆ เบา ๆ เข้าไป ลองดู รู้สึกเป็นอย่างไร ? รู้สึกโปร่ง รู้สึกสบาย ตรง