Page 183 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 183
165
นี้คือการย้ายจิตตัวเอง
การฝึกย้ายจิตตรงนี้ จริง ๆ ก็คือธรรมชาติของเรา ทุกครั้งเวลาเรา
กาหนดอาการพองยุบ กาหนดอาการเต้นของหัวใจ แล้วสังเกตดูว่า ถ้าพอง ยุบเกิดขึ้นมา เอาความรู้สึกที่เบา ๆ ว่าง ๆ เข้าไปเกาะติดกับอาการพองยุบ หายใจเข้า อาการพองออก ให้ความรู้สึกที่เบาตามไปจนสุด พอสุดแล้ว ยุบ เข้า ก็ตามจนสุด ถ้าเราหายใจเข้า ก็เอาความรู้สึกที่เบาเข้าไปด้วย แล้วพอ หายใจออก กเ็ อาความรสู้ กึ ทเี่ บาออกมาดว้ ย แลว้ ลองดวู า่ การกา หนดรอู้ ยา่ งนี้ รู้สึกเป็นอย่างไร แล้วสังเกตอาการเปลี่ยนแปลง
การที่เราใช้ความรู้สึกที่เบาหรือว่าง ตามกาหนดรู้อารมณ์ กาหนด รู้อาการต่าง ๆ จะเป็นการกาหนดอารมณ์อย่างไม่มีตัวตน มีแต่ความรู้สึก ที่ว่างที่เบาทาหน้าที่รับรู้ ไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง มีแต่สติที่ทาหน้าที่รู้อาการ ของรูปนามที่กาลังปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น ถ้าเราส่งจิตหรือย้ายจิตของเราได้ เวลากาหนดอารมณ์เราจะกาหนดได้ปัจจุบัน เราจะเห็นว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่มี อาการเกิดดับอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น หรือมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น เราส่งจิตของเราเข้าไปที่อาการนั้น ก็จะเข้าถึงอาการได้ง่าย ไม่ใช่ ไปเพ่งอาการนั้นหรือไปจ้องอาการนั้นอยู่ นี่คือความต่าง
ถ้าเราสารวจดูที่รูป เราจะเห็นชัดว่า ถ้าย้ายความรู้สึกที่เบาไปไว้ ตาแหน่งนั้นตาแหน่งนี้ รู้สึกอย่างไร เราอาศัยรูปของ เราจะเห็นชัด ไปไว้ที่ สมอง สมองก็จะรู้สึกว่าง ๆ โล่ง ๆ ทีนี้ ถ้าไว้ที่ลมหายใจหรือพองยุบ อาการ พองยุบเปลี่ยนไปอย่างไร ? เมื่อกี้ให้ความรู้สึกที่เบากว้างเท่าห้องนี้ได้ ต่ออีก นิดหนึ่ง ลองให้ความรู้สึกที่เบาคลุมตัวเอง ห่อหุ้มตัว และเอาความรู้สึกที่ เบารองรับจุดกระทบที่เรานั่ง แล้วสังเกตดูว่า เรานั่งอยู่ที่ไหน ? นั่งอยู่บนพื้น นั่งอยู่บนเบาะ หรือนั่งอยู่ในที่ว่าง ๆ นั่งอยู่ในความเบา หรือนั่งอยู่ในความ สงบ ? รู้สึกไหมว่านั่งอยู่ที่ไหน ? บอกไหมว่านั่งอยู่ในอาคาร นั่งอยู่ในศาลา หรือนั่งอยู่ในที่ว่าง ๆ ไม่มีขอบเขต ? นั่งอยู่ในที่ว่าง ๆ เบา ๆ