Page 181 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 181
163
โยมที่ถามอาจารย์เมื่อตอนเย็น ทันนะ ? ดี! ถ้าฟังแล้วเราไล่สภาวะตาม การไล่สภาวะหมายถึงทาตาม พิจารณาตาม แล้วเราก็จะเห็นว่าเป็นอย่างนั้น จริงไม่จริง ถ้าฟังแล้วจา แล้วเราค่อยไปทา บางครั้งทาไม่ถูก ก็ไม่เห็น แต่ก็ ไม่ผิดหรอก ฟังให้จาไว้ก่อนก็ได้ ไม่เป็นไร
ต่อจากเมื่อตอนบ่ายอีกนิดหนึ่งนะ ที่พูดเมื่อกี้วางไว้ก่อน แต่ใคร จะสานต่อก็ต่อได้นะ อาจารย์จะพูดเรื่องการแยกรูปนาม ทาความเข้าใจ นิดหนึ่งว่า การเจริญวิปัสสนาของเรา เบื้องต้นเขาให้แยกรูปแยกนาม การ แยกรูปนามไม่ใช่แค่เราไปท่องว่า เห็นเป็นรูป รู้เป็นนาม เสียงเป็นรูป ใจรู้ เป็นนาม ไม่ใช่แค่นั้น! ต้องรู้ว่านามหรือจิตของเราอยู่ตรงไหนขณะที่เห็น รูป เราจะได้รู้ว่ารูปกับนามเขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน จุดเริ่มต้น ชักยากแล้วนะ แค่แยกรูปนามก็ยังยากเลย พูดให้ยากไว้ก่อน จริง ๆ เป็นของ ง่าย ๆ หรอก ลองหลับตาดูนะ แล้วทาตาม รู้สึกอย่างไรแล้วบอกด้วยแล้วกัน
วิธีแยกรูปแยกนาม นั่งหลับตา แล้วน้อมจิตมาข้างหน้าในที่ว่าง ๆ ธรรมชาติของจิตเรา เมื่อเรามีเจตนาหรือส่งใจไปที่ไหน เขาก็จะไปที่นั่น เพราะ ฉะนั้น ขณะนี้ที่เราหลับตา ลองดู น้อมจิตมาข้างหน้าในที่ว่าง ๆ แล้วสังเกต ว่า จิตที่อยู่ข้างหน้า ในที่ว่าง ๆ รู้สึกอย่างไร ? รู้สึกหนัก รู้สึกเบา รู้สึก โล่ง รู้สึกโปร่ง รู้สึกอึดอัด ? รู้สึกแบบไหน ? (โยคีท่านหนึ่งกราบเรียนว่า รู้สึกเบา ๆ) ใครที่รู้สึกเบา ๆ ลองสังเกตนิดหนึ่งนะ ความรู้สึกเบา ๆ ที่อยู่ ข้างหน้า สามารถเคลื่อนย้ายที่ได้หรือเปล่า ? ได้นะ
ความรู้สึกที่เบากับตัวที่นั่งอยู่ เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน กัน ? คนละส่วนกันนะ ความรู้สึกที่เบาคือจิตของเรา ใช่หรือเปล่า ? ตรงนี้ เขาเรียก “แยกรูปแยกนาม” เห็นไหม จิตที่เบากับตัวที่นั่งอยู่ เป็นคนละส่วน กัน อันนี้ “เห็นรูปนามเป็นคนละส่วน” ทีนี้ ลองให้จิตที่เบา ให้กว้างกว่ารูป กว้างกว่าตัว กว้างเท่าห้องนี้เลย ลองดูว่า จิตที่กว้างรู้สึกอย่างไร ? พอกว้าง ขึ้น รู้สึกเบามากขึ้น โล่งขึ้น หรือเป็นอย่างไร ? รู้สึกโล่งขึ้น รู้สึกโปร่งขึ้นนะ...