Page 179 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 179

161
นี้แหละ นี่คือ “การดูจิตในจิต” รู้ว่าจิตเบาจิตสงบ และรู้ว่ามีจิตดวงหนึ่ง ที่ทาหน้าที่รู้อยู่ ตัวรู้ตรงนี้ที่เรียกว่า ตัวสัญญารู้ หรือสติรู้ หรือความรู้สึกที่ ทาหน้าที่รู้ หรือจิตรู้ หรือใจรู้ หรือเรียกว่าธาตุรู้ก็ได้ ให้เห็นว่ายังมีตัวรู้อยู่ จริง ๆ ตัวที่ทาหน้าที่รู้คืออะไร ? ก็คือจิตนั่นเอง หรือที่เรียกว่า “วิญญาณรู้” ถ้าในขันธ์ ๕ เขาเรียกว่า “ตัววิญญาณ” ตัววิญญาณที่ทาหน้าที่รู้อาการ ของรูป เวทนา สัญญา สังขาร แม้ตัวเขาเองก็คือตัววิญญาณก็ทาหน้าที่ รู้ตัวเองด้วย
วิธีที่ต้องสังเกตก็คือ ให้กลับมาดู “ตัวรู้” นี่แหละ จิตที่ทาหน้าที่รู้ว่า ว่าง เขารู้แล้วนิ่งอยู่อย่างนั้น หรือทาหน้าที่รู้แล้วดับไป เกิดขึ้นมาใหม่ รู้ใหม่ แล้วดับไปหรือเปล่า ? อันนี้คือสิ่งที่ต้องสังเกต เขาเรียกว่า “ดูจิตในจิต” ไม่ใช่แค่รู้ว่าคิดอะไร แต่รู้ว่าจิตมีอาการอย่างไร ตัวรู้นี้แสดงอาการพระ ไตรลักษณ์ คือเกิดดับไหม ?แล้วบรรยากาศความว่างที่รองรับ ตั้งแต่เดิมที่ รู้สึกว่าง ๆ รู้สึกสงบ เขาเปลี่ยนด้วยหรือเปล่า ? อันนี้เห็น ๒ อย่าง เห็น อาการดับของจิตที่ทาหน้าที่รู้ แล้วสภาพจิตใจเราเปลี่ยนไปอย่างไร ก็คือ รู้สึกสงบขึ้น เบาขึ้น ใสขึ้น ว่างขึ้น โล่งมากขึ้น สะอาดมากขึ้น หรือเป็น อย่างไร
ตรงนี้เป็นการกาหนดนาม เมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงการเกิดดับ ของนามแต่ละขณะ แต่ละขณะ นามหรือจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร อันนี้คือสิ่งที่ต้องสังเกตนะ อันนี้ละเอียดมาก ๆ เป็นสภาวธรรมที่ส่วนใหญ่ ก็จะเข้าสู่ปรมัตถ์แล้ว สภาวะปรมัตถ์ จิตปรมัตถ์ที่เกิดขึ้น ที่แสดงอาการ พระไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเราไม่สังเกต ก็จะไม่เห็นอาการเกิดดับ ของจิตที่ทาหน้าที่รู้ กลายเป็นว่าเรามีจิตดวงเดียวทาหน้าที่รู้เรื่องราวต่าง ๆ ตลอดเวลา เมื่อเห็นเป็นอย่างนั้น เราก็เลยไม่เห็นว่าความไม่เที่ยงของจิต เป็นอย่างไร
ทพี่ ระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ จติ เกดิ ดบั ชวั่ ลดั นวิ้ มอื เดยี วเปน็ แสนโกฏดิ วงนนั้


































































































   177   178   179   180   181