Page 180 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 180
162
จะปรากฏแก่เราได้อย่างไร ถ้าเราไม่ใส่ใจพิจารณาหรือสังเกต เราก็ไม่เห็น เพราะโดยธรรมชาติ เราไม่สนใจสิ่งไหน เราก็จะไม่เห็นสิ่งนั้น สิ่งไหนที่เรา ไม่ใส่ใจ ก็กลายเป็นอารมณ์ที่เป็นโมฆะไป ไม่เห็น ไม่ชัดเจน ถ้าเราใส่ใจ เราก็จะเห็นว่าเขาเป็นอย่างนี้เอง นี่แหละเขาเรียกว่า “ธัมมวิจยะ” คือการ สอดส่องธรรม พิจารณาสภาวธรรมที่เป็นจริง ที่กาลังปรากฏอยู่ว่าเขาเป็น อย่างไร ไม่ใช่แค่ “คิดว่า” อย่างเดียว หรือตรรกะ แต่ต้อง “เห็นว่า” เขาเป็น อย่างนี้ อย่างนี้ ตรงนี้แหละที่เรียกว่า “รู้แจ้งและเห็นจริงด้วยตัวเอง” แต่ละ ขณะ แต่ละขณะ แต่ละอย่างที่เราเห็น เป็นอย่างไร อันนี้เป็นส่วนสาคัญนะ
ที่อาจารย์พูดถึงตรงนี้ เพราะทุกคนปฏิบัติมาพอสมควร บางคนก็ จะมาติดตรงที่ว่างแล้วจะไปอย่างไรต่อ ตรงนี้ดีนะ พอรู้สึกว่าติดความว่าง แล้ว อยากจะให้พ้นจากสภาวะความว่าง ไม่อยากจะติดความว่าง เมื่อไหร่ ก็ตาม ที่เราเห็นว่าความว่างจิตที่ว่างมีการเปลี่ยนแปลง เราก็จะไม่ยึดติด ความว่าง เพราะความว่างจิตที่ว่างก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็เปลี่ยนไป เพียง แต่ว่าไม่จาเป็นว่าต้องว่างแล้วก็ไม่ว่าง ว่างแล้วก็ไม่ว่าง ไม่จาเป็นต้องเป็น อย่างนั้น อาจจะยิ่งดูยิ่งว่างมากขึ้น มากขึ้น... ก็ได้ นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลง
เหมือนกับไฟ เราเปิดดวงหนึ่งก็สว่าง ดวงที่สองก็สว่าง แสงสว่างก็ เปลี่ยนเป็นสว่างมากขึ้น มากขึ้น ไม่ใช่ว่าสว่างเท่าเดิม จิตของเราก็เหมือนกัน จิตที่รู้สึกสะอาดแล้ว ที่เราเคยเห็นว่าว่างขนาดนี้ ถ้าเรารู้เข้าไปอีก เขาสะอาด มากขึ้นอีกไหม ? ใสขึ้น สว่างขึ้น เบาขึ้นอีกหรือเปล่า ? นี่คือสิ่งที่เราต้อง สังเกต สมมติว่าไฟดวงแรกสว่าง แล้วเปิดดวงที่สองสว่างมากขึ้น เราจะติด ดวงแรกไหม ? แต่เราก็ไม่จาเป็นต้องปฏิเสธดวงแรก ใช่ไหม ? เขาเกื้อกูล กันให้สว่างมากขึ้น แต่ถ้าเราปิดดวงแรก ดวงที่สองเปิดขึ้นมา ความสว่างก็ อาจจะยังเท่าเดิมอีก เห็นไหม ?
เพราะฉะนั้น การกาหนดรู้ดูจิตในจิตตรงนี้ สังเกตในลักษณะหนึ่ง ว่า เขาเปลี่ยนอย่างไร อันนี้พูดถึงเรื่องจิตอย่างเดียวเลยนะ โยม ทันไหม ?