Page 187 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 187
169
เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน
ถ้าเห็นเป็นคนละส่วนเมื่อไหร่ เวทนานั้นเกิดอยู่ที่ไหน ? เกิดอยู่ในที่
ว่าง ๆ ? (โยคีกราบเรียนว่า เกิดอยู่ที่ขา) มีรูปร่างของขาไหม ? (โยคีกราบ เรียนว่า ไม่มี) ไม่มีรูปร่างของขา แล้วบอกว่าอยู่ที่ขาได้อย่างไร ? นี่คือ ตามความรู้สึกที่เป็นจริง ที่บอกได้ก็คือ เราจาได้ว่าเขาอยู่ตาแหน่งนี้แหละ บริเวณขา แต่ไม่มีรูปร่างของขา ลองสังเกตนิดหนึ่งว่า ขณะที่รู้ว่าเขาเกิดอยู่ ที่ขา กับรู้ว่าเขาเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ บริเวณขา ลองดูว่า สภาพจิตใจเราต่างกัน อย่างไร ? อันไหนจิตมีกาลังกว่ากัน ? (โยคีกราบเรียนว่า อยู่ในที่ว่าง ๆ) เพราะฉะนั้น ถ้าเขาอยู่ในที่ว่าง ๆ เวทนาเขาบอกว่าเป็นของใครไหม ? ไม่ เป็นนะ... ถ้าไม่เป็นของใคร ทาไมเราต้องเศร้าหมอง ?
ธรรมชาติของร่างกายเป็นที่อาศัยของเวทนา แต่เมื่อมีเวทนาปรากฏ แล้วเรากาหนดรู้ถึงความเป็นคนละส่วนระหว่างเวทนากับจิตที่ทาหน้าที่รู้ และถ้าจิตเราไม่หดหู่ขุ่นมัวเศร้าหมอง แสดงว่ากิเลสไม่ปรากฏ เป็นเรื่อง ธรรมดาอยู่เอง เมื่อเราเกิดขึ้นมามีร่างกาย ก็ย่อมมีเวทนาเกิดขึ้นมาด้วย นอกจากเห็นว่าเวทนากับจิตเป็นคนละส่วนกันแล้ว ให้พอใจที่จะกาหนดรู้ว่า เวทนาที่ปรากฏขึ้นมานั้น เขามีอาการเกิดดับเปลี่ยนแปลงในลักษณะอย่างไร ค่อย ๆ ปวดมากขึ้น หรือมีอาการวูบวาบ ๆ หรือมีอาการบิดเป็นเกลียวหรือ หมุน... อันนี้แล้วแต่นะ แต่ละขณะ แต่ละคน ก็จะเห็นแตกต่างกันไป
แต่สิ่งที่ต้องทา คือเข้าไปรู้ว่าเขามีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดดับใน ลักษณะอย่างไร ขณะที่กาหนดรู้อาการเกิดดับของเวทนาไปเรื่อย ๆ สังเกต ดูว่า จิตใจเรารู้สึกอย่างไร ? นิ่งขึ้น ตื่นตัวขึ้น หรือมีความง่วงเกิดขึ้น ? จิต เราใสขึ้น หรือขุ่นมัว ? อันนี้เขาเรียก “ดูสภาพจิตขณะที่กาหนดรู้อาการเกิด ดับของเวทนา” การพิจารณาแบบนี้จะเห็นว่า เวทนาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นสิ่งไม่ดี หรือทาให้จิตเราขุ่นมัว อานิสงส์ของการกาหนดเวทนา ๑. จะมีความอดทน มากขึ้น เขาเรียก “มีขันติ” ๒. จิตจะตื่นตัว สติจะมีกาลัง นั่งแล้วไม่หลับ