Page 21 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 21

3
อย่างไร เกิดและดับอย่างไร เพื่อให้สติเราอยู่กับอารมณ์ปัจจุบันได้ต่อเนื่อง ในการพิจารณาพองยุบ วิธีสังเกตคือ เวลาลมหายใจเข้า ท้องพอง ออก ให้มีสติเกาะตามไปจนสุดพอง พอสุดพองปุ๊บ เขามีอาการหายไปก่อน ไหมก่อนที่จะยุบเข้ามา ? พอยุบสุด เขามีอาการหยุดหรือหายไปก่อนไหม ก่อนที่จะพองออกไป ? และไม่ต้องบังคับให้ยาวเท่ากันตลอด เพียงแต่ สังเกตในลักษณะอย่างนี้ว่าเขาดับก่อนไหมก่อนที่จะยุบเข้ามา ? ยุบสุดมี
อาการหายไปก่อนไหมก่อนที่จะพองออกไป ? และเพื่อให้สติเรามีกาลังมากขึ้น ปัญญาพิจารณาเห็นถึงการเกิด
ดับละเอียดมากยิ่งขึ้น ก็สังเกตต่อไปว่า ขณะที่ลมหายใจเข้าไปแล้ว ท้องพองออก เขาเป็นเส้น เป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นคลื่น หรือมีอาการฝอย ๆ ออกไปแล้วก็หาย ? ในขณะที่ลมหายใจหรือท้องยุบลง ก็สังเกตในลักษณะ เดียวกัน ว่ายุบเข้ามานี่ ยุบเป็นเส้นเข้ามา หรือเป็นคลื่น หรือมีอาการ เป็นขณะ ๆ ๆ แล้วก็หายไป ? ตรงน้ีเป็นการเพิ่มรายละเอียด ที่เรียกว่า “ธัมมวิจยะ” การพิจารณาหรือการสอดส่องธรรม รู้ถึงการเปลี่ยนแปลง การ เกิดขึ้น การตั้งอยู่ การดับไป
ถ้าเราพอใจรู้แต่ว่า พองยุบ พองยุบ พองยุบ อย่างเดียว และไม่มี เจตนารู้ถึงอาการเกิดดับหรือเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน สติเราก็จะอ่อน พอมี สมาธิมากขึ้น สติอ่อน ก็จะหลับ! นั่นคือปัญญาก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้น ในการ กาหนดพองยุบหรือกาหนดลมหายใจเข้าออกนั้น ให้มีเจตนาที่จะรู้ถึง “การ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป” ของอาการพองยุบหรือลมหายใจเข้าออก
อย่างลมหายใจเข้าลมหายใจออกก็เช่นเดียวกัน บางคนอาจจะมี ประสบการณ์ พอหลับตา ตามลมหายใจ มันยาว ยาว ยาว... บางครั้งรู้สึก ว่าลมหายใจมันจะยาวไกลเลยตัวออกไปด้วยซ้า ถึงเป็นอย่างนั้น ก็ตามให้สุด ถ้าหายใจเข้ามา ยังยาวเท่าเดิม หรือสั้นกว่าเดิมหรือเป็นเส้น เป็นคลื่น หรือ เป็นแค่กลุ่มฝอย ๆ ออกไป ? นี่คือการสังเกตการเปลี่ยนแปลงหรืออาการ


































































































   19   20   21   22   23