Page 22 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 22
4
เกิดดับของลมหายใจเข้าออก วิปัสสนาเป็นการเจริญปัญญา เน้นที่เรา พิจารณารู้ถึงอาการพระไตรลักษณ์ คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของอารมณ์ ที่เกิดขึ้น อันนี้คือการพิจารณาลมหายใจเข้าออกหรือพองยุบ เวลาเราเจริญ กรรมฐาน
และอีกอารมณ์หนึ่งที่จะปรากฏขึ้นในขณะที่เราเจริญกรรมฐาน นอกจากลมหายใจเข้าออก นอกจากอาการพองยุบ ก็จะมี “เวทนา” เวทนา คือ ความปวด อาการเมื่อย อาการชา อาการคัน ที่จะปรากฏขึ้นมาในบริเวณ รูปนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม หน้าที่ของผู้ปฎิบัติ คือ มีสติกาหนดรู้ให้ชัด ว่า เวทนาที่กาลังปรากฏอยู่นี้เป็นกลุ่มก้อน เป็นแท่ง เป็นแผ่น เป็นฝอย ๆ หรือ มีอาการคันแปลบ แปลบ แปลบ ? ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตามสิ่งที่เรา ต้องพิจารณาคือ เข้าไปกาหนดรู้ว่า เวทนาที่เกิดขึ้นนั้น ถ้าเป็นกลุ่มก้อน กลุ่มก้อนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับอย่างไร ? ถ้าเป็นจุดขึ้นมา เวทนาที่เป็นจุด เขามีอาการนิ่ง ๆ หรือเป็นจุดขึ้นมา แล้วดับไป หายไป ? นี่ คือสิ่งที่ต้องพิจารณา เขาเรียกว่า “ตามรู้เวทนาในเวทนา” อันนี้เรารู้ “เวทนา ทางกาย”
แล้วเวทนาอีกอย่างหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมาในขณะที่กายมีเวทนาก็คือ “เวทนาทางใจ” เวทนาทางจิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้นรู้สึกอย่างไร ? รู้สึกหนัก รู้สึกนิ่ง ๆ รู้สึกสงบ ? อันนี้คือจิตเราจิตรู้สึกนิ่ง ๆ สงบตั้งมั่น แล้วก็เห็น อาการเวทนานั้นเกิดดับ ? หรือว่ารู้สึกขุ่นมัว เกิดอาการหงุดหงิด เกิดราคาญ ในเวทนาที่เกิดขึ้น ? อันนี้คือสิ่งที่โยคีต้องกาหนดรู้ ว่าเขาเกิดดับในลักษณะ อย่างไร ?
ไม่ว่าจะเป็นเวทนาทางกายหรือทางใจก็ตาม สิ่งที่เราต้องพิจารณา ก็คือว่า เวทนาที่เกิดขึ้นนั้น มีการเกิดดับในลักษณะอย่างไรเมื่อเรามีสติ เข้าไปกาหนดรู้ ? อย่างเช่น เมื่อมีความรู้สึกราคาญเกิดขึ้น เมื่อมีสติเข้าไปรู้ ความรู้สึกราคาญหายไปในลักษณะอย่างไร ? ค่อย ๆ หายไป ค่อย ๆ จางไป