Page 23 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 23

5
หรือดับไปทันที ? นั่นคือสิ่งที่เราต้องกาหนดรู้ รู้อาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของเวทนา อันนี้เป็นอารมณ์กรรมฐานอย่างหนึ่ง
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ “ความคิด” ทุกครั้งที่เราเจริญกรรมฐาน พอ นั่งไปสักพัก กาหนดพองยุบไม่ได้ หรือจิตไม่สงบ... ที่เรารู้สึกว่าจิตไม่สงบ เพราะมีความคิดเข้ามาเยอะแยะมากมาย แล้วเราก็พยายามที่จะไปยึดเอา พองยุบเป็นหลัก หรือเราปฏิเสธความคิดและไปยึดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ที่ไม่ชัดเจน จะทาให้เราเกิดความรู้สึกราคาญขึ้นมา เมื่อไหร่ที่เราราคาญ จิต เรามีตัวตน สติก็จะอ่อน สมาธิก็จะไม่ตั้งมั่น เมื่อสมาธิไม่ตั้งมั่น สติอ่อน ต่อไปเราก็ทนไม่ได้กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วจะราคาญตัวเอง หงุดหงิดกับ ตัวเองว่าปฏิบัติไม่ได้
ที่จริงความคิดที่เกิดขึ้นก็เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง ที่เรียก ว่า “การพิจารณาดูจิตในจิต” ลักษณะการดูจิตในจิต มีอยู่ ๓ อย่าง ๑) รู้ว่า มีความคิดเกิดขึ้น รู้ว่าคิดอะไร ๒) ขณะที่มีความคิดปรากฏขึ้นมาแล้วจิตใจ เรารู้สึกอย่างไร ? ดีหรือไม่ดี ? ขุ่นมัวหรือผ่องใส ? หรือเบิกบาน ? หรือว่า สงบ ? ๓) จิตหรือสติที่ทาหน้าที่รู้ความคิดที่เกิดขึ้นมานั้น มีอาการอย่างไร ? อันนี้ละเอียดขึ้นนะ แต่เบื้องต้นเราก็พิจารณากาหนดรู้ถึงความคิดที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความกระสับกระส่ายหรือราคาญในความคิด สิ่งสาคัญ คือ เมื่อมีความคิดเกิดขึ้น ไม่ต้องปฏิเสธความคิด ให้มีสติเข้าไปกาหนดรู้ ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของความคิด
การกาหนดอารมณ์ทุกอารมณ์ต้องมี “เจตนา” อย่างที่บอกแล้ว อย่าง มีความคิดเกิดขึ้น ต้องมีเจตนาที่จะไปรู้ว่า ความคิดที่เกิดขึ้นมานั้น เกิดดับ ในลักษณะอย่างไร ? เกิดแล้วดับอย่างไร ? มีแล้วหายอย่างไร ? อันนี้คือ เจตนาหลัก แต่ถ้าเรามีเจตนาที่จะไปรู้ว่า ดูสิว่าจะคิดไปถึงไหน ? แล้วเขาก็ พาไปเรื่อย ๆ ๆ คิดได้ทั้งวันไม่หมด เริ่มตั้งแต่เรื่องปัจจุบันจนถึงอดีตตั้งแต่ เริ่มจาความได้... อันนั้นคือเรื่องสัญญาที่ปรากฏเข้ามา นอกนั้นยังมีการปรุง


































































































   21   22   23   24   25