Page 24 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 24
6
แต่งต่อ... อันนั้นจัดเป็นความคิดที่เกิดขึ้น เป็นการกาหนดดูจิตในจิต เพราะฉะนั้น วิธีการที่จะทาให้จิตเรารู้อยู่กับปัจจุบัน และเห็น ความจริงของสภาวธรรมที่เกิดขึ้นก็คือ มีเจตนาที่จะเข้าไปรู้ว่า ความคิดที่ ปรากฏขึ้นมานี้ เกิดและดับอย่างไร ? ถ้ารู้เป็นเรื่องก็ยังยาว เรื่องนี้เข้ามาดับ อย่างไร ? เรื่องนี้เข้ามาดับอย่างไร ? ก็ยังใช้เวลา! เวลาเราคิดถึงอะไรก็ตาม จะมีมโนภาพปรากฏขึ้นมา วิธีสังเกตก็คือว่า คิดถึงเรื่องนี้ ภาพนี้เกิดขึ้นมา แล้วดับอย่างไร ? ภาพนี้ขึ้นมาแล้วดับอย่างไร ? ต่อไปเราก็ดูว่าสติเราจะไว แค่ไหน ? สมมติว่าเขาเกิดมา ๒ วินาที เรารู้ เขาก็หายไป ต่อไปพอเขาเริ่ม เกิด เราจะรู้ทันไหม ? เรามีเจตนาที่จะไปรู้ “จุดเริ่ม” ของความคิดที่จะเกิด ขึ้นมา เมื่อมีเจตนาอย่างนี้ จิตก็จะเป็นระเบียบ สมาธิก็จะตั้งมั่นขึ้น สติมี
กาลังมากขึ้น ความสงบก็จะเกิดขึ้นเอง
เมื่อความคิดหมดไป สภาวธรรมต่อไปก็จะปรากฏขึ้น อาจจะเป็น
ความมืด ความสลัว หรือเป็นจุดใส ๆ ขึ้นมาข้างหน้า หรือเป็นสีเป็นแสง ขึ้นมาข้างหน้า ที่เรียกว่า “นิมิต” ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสีแสงหรือภาพอะไร ปรากฏขึ้นมา ให้เรามีเจตนาที่จะเข้าไปกาหนดรู้ว่า ภาพนี้หรือสีนี้ขึ้นมาแล้ว ดับอย่างนี้ มีอาการกระเพื่อมไหวเกิดขึ้นแล้วดับในลักษณะอย่างนี้ ไม่ว่า อาการอะไรเกิดขึ้นมาก็ตาม นั่นคือสภาวธรรม
และตัว “สภาวธรรม” ก็คือ ลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นมา แสดง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ลมหายใจก็เป็นสภาวธรรม เวทนาก็เป็นสภาวธรรม ความคิดก็เป็นสภาวธรรม และลักษณะการเกิดดับนั่นแหละคือตัวสภาว- ธรรมที่เกิดขึ้นมา เพราะฉะนั้น การดูกายในกาย ดูเวทนาในเวทนา ดูจิตในจิต และรู้ธรรมในธรรม คืออารมณ์หลัก ๆ สาหรับผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ในหลักของสติปัฏฐาน ๔
แต่ฟังอย่างนี้แล้ว ไม่ต้องไปกังวลว่า ทาไมเยอะแยะ! จะกาหนดไหว หรือ ? จะหาเจอทั้งหมดหรือเปล่า ? เราจะทาได้ทั้งหมดไหม ? ไม่ต้อง ! เรา