Page 26 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 26
8
เดี๋ยวก็มีมโนภาพความคิดที่เกิดขึ้น... จิตเราก็จะสลับกันไป ทีนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ถ้าในขณะที่เราเจริญกรรมฐานหรือนั่งสมาธิ ในขณะนั้นมีหลาย ๆ อารมณ์เกิดพร้อมกัน อย่างเช่น มีทั้งลมหายใจ มีทั้ง อาการพองยุบ มีทั้งความปวด มีทั้งความคิด จะทาอย่างไรดี ? วิธีทาให้ สมาธิเราเกิดง่ายที่สุด “ไม่ต้องปฏิเสธ” ให้นิ่งนิดหนึ่ง แล้วดูว่าอารมณ์ไหน ชัดที่สุด ให้เลือกอารมณ์นั้น อารมณ์อื่นปล่อยไป ถึงจะเกิดก็ตาม เขาเรียก “เลือกกาหนดทีละอารมณ์ ทีละอย่าง” ไม่ต้องไปเอาทุกอย่าง เอาทีละอย่าง
ให้เลือกอารมณ์ เรามีสิทธิ์ที่จะเลือกดูอะไร ใส่ใจอะไร นั่นคือวิธีกาหนด เพราะฉะนั้น ที่บอกเอาไว้ก่อนว่า อารมณ์ทั้ง ๔ อย่างที่จะปรากฏขึ้น มาในขณะที่เราเจริญกรรมฐานนี้ เพื่อที่เราจะได้รับรู้โดยที่ไม่ประกอบด้วย ตัวตนและไม่ปฏิเสธอารมณ์ อันนี้ฉันจะไม่เอา ต้องเอาพองยุบให้ได้ก่อน กาหนดความคิดให้ได้ก่อน กาหนดเวทนาให้หายก่อน... เพราะในบัลลังก์ เดียว อารมณ์ที่ปรากฏขึ้นในปัจจุบันไม่ใช่อารมณ์เดียว จะสลับกันระหว่าง
เดี๋ยวพองยุบ เดี๋ยวเวทนา เดี๋ยวความคิด เดี๋ยวก็จะมีนิมิตเกิดขึ้นมา... นั่นคืออารมณ์ปัจจุบันที่ปรากฏขึ้น เราจะได้ตามรู้อารมณ์ปัจจุบันได้ ทัน สติเราก็จะอยู่กับปัจจุบัน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เน้นที่สติรู้อยู่กับ อารมณ์ปัจจุบัน และสังเกตถึงอาการเกิดดับของอารมณ์ปัจจุบัน ไม่ใช่เพื่อ นั่งแล้วเงียบสงบ แต่ความเงียบความสงบก็จะตามมาเอง เมื่อเรามีสติรู้อยู่
กับปัจจุบัน จิตก็จะสงบได้เอง จิตก็จะว่างได้เอง อันนี้ขอฝากเอาไว้ นอกจากอารมณ์ทั้ง ๔ อย่างที่พูดมา เพื่อความต่อเนื่องของสติของ เรา ก็คือการกาหนดอิริยาบถย่อย จะหยิบ จะจับ จะเคี้ยว จะเดิน จะทาอะไร ก็ตาม ให้มีสติรู้อยู่กับอาการเคลื่อนไหว ถามว่า ต้องใช้คาบริกรรมไหม ? ถ้าถนัดใช้คาบริกรรม ก็บริกรรมไป หยิบหนอ ถูกหนอ ยกหนอ วางหนอ... อันนี้ก็ได้ ถ้าไม่ถนัดใช้คาบริกรรม การที่จะให้สติเรารู้อย่างต่อเนื่องอยู่ กับอารมณ์นั้นได้ชัด ต้องมีเจตนาที่จะ “รู้ชัด” ในขณะที่กาลังทา รู้ว่าหยิบ