Page 28 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 28

10
ถ้าสงสัยอะไรก็ถามได้ แล้วตอนเย็นจะรวบรวมปัญหาต่าง ๆ มาสนทนา กันอีกทีหนึ่ง ว่าอุปสรรคหรือปัญหาในการปฏิบัติของเราเป็นอย่างไร เราจะ พัฒนาการปฏิบัติของเราอย่างไร อันนี้เราจะได้ประโยชน์
การปฏิบัติธรรมเน้นที่ตัวเราเป็นสาคัญ และอีกอย่างหนึ่ง เรามา ปฏิบัติธรรม เราตั้งจิตดีแล้ว วิธีการที่จะดูจิตตัวเองให้ชัด ให้จิตอยู่กับตัว เองมากที่สุด ก็คือ การรู้จักสารวมกาย สารวมวาจาของเรา ยิ่งเราสารวม กาย สติก็จะอยู่กับกายได้ต่อเนื่อง ถ้าจะพูด พูดเท่าที่จาเป็น ถ้าสงสัยเรื่อง ธรรมะ ก็ถามอาจารย์ได้ แล้วเวลาอาจารย์ถาม อย่าเงียบนะ! บางทีห้ามพูด พออาจารย์ถาม เลยปิดเงียบ อาจารย์ก็จะไม่รู้อีกแหละว่ามีปัญหาตรงไหน การสนทนาธรรมกันว่าเวลาเราปฏิบัติธรรม มีปัญหาตรงไหน จะแก้อย่างไร อันนั้นจะได้ประโยชน์มากที่สุด
อารมณ์หลัก ๆ ที่เราต้องกาหนดรู้ ที่อาจารย์พูดไว้ตรงนี้ทั้งหมด เพราะว่าอาจารย์อาจจะสอนรวม คุยกับเราแค่ช่วงเย็น แต่ตอนกลางวันให้ เราปฏิบัติกัน และอาจารย์จะสอบอารมณ์ตอนเช้า พรุ่งนี้ก็จะเริ่มสอบอารมณ์ ได้เลย ไม่ต้องใช้เวลานาน สอบอารมณ์เช้าถึงเพล และช่วงบ่ายถึงสี่โมงเย็น แล้วก็ตอนเย็นทุ่มหนึ่ง เราก็มานั่งรวมกันแบบนี้ โยคีจะได้ปฏิบัติได้เต็มที่ สาหรับผู้ที่จะส่งอารมณ์ เดี๋ยวประสานงานกับวิทยาการผู้ประสานงานอีกที หนึ่ง ฉะนั้น วันนี้ก็ขอฝากเอาไว้
ขอถามอีกนิดหนึ่ง ที่มาปฏิบัตินี่ต้องการอะไร ? (โยคีท่านหนึ่งกราบ เรียนว่า ต้องการความสงบ) ก็ยังมีเป้าหมายชัดเจน แล้วโยมว่าไง ? (โยคีอีก ท่านหนึ่งกราบเรียนว่า ไม่อยากเกิดอีก) สาธุ นี่เป็นความปรารถนาที่ชัดเจน ไม่ผิดนะ เป็นสิ่งที่ดี เราต้องรู้ว่าเราต้องการอะไร แล้วจะหาได้ไม่ยาก สังเกต ไหม พระพุทธเจ้ารู้ว่าพระองค์ต้องการเป็นพระพุทธเจ้า จึงบาเพ็ญเพียร คิด ดูพระองค์บาเพ็ญเพียร ๔ อสงไขยกับแสนกัป เพราะมีเป้าหมายที่ชัดเจน
พวกเราเวลาปฏิบัติธรรม ก็ต้องตั้งจิตปรารถนาดี ๆ ถ้าเราปรารถนา


































































































   26   27   28   29   30