Page 27 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 27

9
รู้ว่าจับ รู้ว่ายก รู้ว่าวาง และเพิ่มการสังเกตว่า เวลาเราหยิบ จับ ถูก แต่ละ ครั้งนี่ จับถูกปุ๊บ เขาดับยังไง ? ยกขึ้นมา เขาดับยังไง ? วางลง เขาดับ ยังไง ? นี่คือความละเอียด ตรงนี้เขาเรียก “การกาหนดอิริยาบถย่อย”
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ “การเดินจงกรม” การเดินจงกรมก็มีเจตนา อย่างเดียวกันกับตอนที่เรานั่งนั่นแหละ อย่างเช่น เวลาเรายกเท้าขึ้นมา ยก ย่าง เหยียบ... อาจจะเริ่มก้าวจังหวะแรกก็ได้นะ แต่จุดสาคัญก็คือว่า ขณะ ที่เราก้าวเท้าเดิน สติหรือจิตต้องอยู่ “ที่เดียว” กับเท้า และขณะที่ยกขึ้นมา สังเกตว่า เขามีอาการอย่างไร ? เป็นเส้นขึ้นมา หรือเบา ๆ หรือหนัก ๆ ขึ้น มา ? เขามีอาการหยุดก่อนไหมก่อนที่จะก้าวไป ? และขณะที่ก้าวไป เขาเป็น เส้น เป็นคลื่น หรือมีอาการสะดุด ๆ ? เมื่อกระทบแล้ว เขาหายอย่างไร ? จมหายไป หรือกระจายออก หรือกระทบลงไปเฉย ๆ เท่านั้นเอง ? ให้สังเกต ในลักษณะอย่างนี้ “รู้ถึงอาการที่เกิดขึ้น” ตรงนี้คือวิธีเดินจงกรม ไม่ว่าจะเป็น เท้าซ้ายเท้าขวา
ทีนี้ก็จะมีปัญหาตามมาอีกอย่างหนึ่งว่า ขณะที่เราเดินจงกรม ถ้า ขณะที่เรากาหนดแล้วชัดอยู่ข้างเดียว เท้าขวาอย่างเดียว เท้าซ้ายไม่ชัด จะ ทายังไง ? ไม่ต้องไปกังวล ให้กาหนดเท้าขวาเป็นหลักไปเลย พอเท้าขวาสุด หยุดปุ๊บ ตอนสุดทางเดิน เราก้าวเท้าใหม่ สังเกตต่อ เดี๋ยวเขาจะสลับกันเอง เดี๋ยวก็จะรู้สึกว่า ทาไมชัดแต่การก้าวเท้าซ้ายอย่างเดียว หรือสักพักก็จะ รู้สึกว่าชัดทั้งซ้ายทั้งขวาแล้ว การมีสติที่จะกาหนดรู้ เพียงแต่ “พอใจ” และ ให้ “รู้ชัดให้ต่อเนื่อง” ว่าเขามีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงอย่างไรเท่านั้นเอง อัน นี้วิธีการกาหนดอาการเดิน
อย่างใครที่เคยกาหนด ๕ จังหวะ ๖ จังหวะ หรือ ๔ จังหวะ ถ้าถนัด ก็กาหนดต่อได้เลย แต่เน้นว่า “เขาเกิดดับยังไง ?” นี่คืออารมณ์หลัก ๆ หรือ อิริยาบถหลัก ๆ ที่เราต้องกาหนดรู้ เพื่อความต่อเนื่องของสติเรา นอกนั้น เดี๋ยวค่อยว่ากันตอนที่สอบอารมณ์ เวลาสอบอารมณ์เขาเรียก “ไปเล่าสภาวะ”


































































































   25   26   27   28   29