Page 254 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 254
236
เราไปกาหนดอย่างไรก็ไม่รู้ ให้เดินช้า ๆ นะ เราก็เดินช้าอย่างเดียวโดยไม่ดู อะไรเลย เดินช้าแล้วได้อะไร ? เดินช้าแล้วเป็นอย่างไร ? ถ้าเดินเร็วแล้วเป็น อย่างไร ? ถ้าเดินเร็ว แต่เรายังมีสติรู้เท่าทันอาการเคลื่อนไหวของเรา ถามว่า ผิดไหม ? การเดินเร็ว เดินแล้วตัวหาย เดินอย่างไม่มีตัวตน เดินอยู่ในความ ว่าง ผิดหรือเปล่า ? อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา
ถ้าเราพิจารณาอย่างนี้ เราจะรู้ว่าทาอย่างนี้แล้วสภาพจิตเป็นอย่างไร เดินเร็วแต่กิเลสไม่เกิด จิตว่างไป ตัวหายไป อุปาทานหายไป ผิดตรงไหน ? ผิดตรงที่เดินเร็วหรือผิดตรงที่เราปฏิบัติผิด ? ทาไมถึงเรียกว่าปฏิบัติผิด ? ก็ จิตว่าง ผิดตรงไหน ? ผิดตรงที่ไม่เดินช้า ๆ หรือว่าผิดตรงที่ไม่มีสติ ? อัน นี้ต้องพิจารณา ต้องสังเกตนะ สติของคนเราไม่เท่ากัน เราพิจารณาตัวเอง แต่อย่าหลงนะ! อย่าคิดเข้าข้างตัวเอง ฉันเดินเร็วก็ได้ ยิ่งเดินเร็วยิ่งสบาย... ถามว่า เห็นอาการเกิดดับไหม ? เปล่า อันนั้นไม่ใช่แล้วนะ อันนั้นเดินตาม สบาย เดินอย่างมีสติหรือเดินปล่อยสติ ? เราก็ต้องพิจารณา เราบอกตัวเอง ได้ เราต้อง “ซื่อสัตย์กับตัวเอง”
เคยได้ยินไหม “บุคคลผู้ไม่มีมารยาจะปฏิบัติธรรมได้ง่าย” ฟังแล้ว สะดุ้งนะ! มารยากับใคร ? คือจริงใจกับตัวเอง ซื่อสัตย์กับตัวเอง สภาวะเป็น อย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เห็นอย่างไรก็อย่างนั้น อย่าคิดปลอบใจตัวเองเท่านั้น เอง... คงเป็นอย่างนี้แหละ น่าจะใช่อย่างนี้แหละ เหมือนคนอื่นเปี๊ยบเลย แต่ ตัวเองก็ยังไม่แน่ใจว่าเหมือนจริงหรือเปล่า เหมือนของคนนั้นจังเลย แต่ก็ไม่ แน่ใจว่าใช่หรือเปล่า เราต้องรู้สภาวะของเราเอง
และการปฏิบัติธรรมของเรา สิ่งสาคัญที่สุด เป้าหมายของการปฏิบัติ คือ “การขัดเกลาตัวเอง” คนอื่นจะเป็นอย่างไรนั่นเป็นส่วนของเขา เขาจะ ปฏิบัติได้ดี ได้เก่ง ได้เร็วแค่ไหน เป็นเรื่องของเขา เราปฏิบัติช้าก็รู้ว่าช้า ถึง จะช้าแต่ก็ดีขึ้น จงภูมิใจว่าเราพัฒนาขึ้นและดีขึ้น อย่าคิดว่าเมื่อไหร่จะเท่าคน อื่น คาว่า “เมื่อไหร่จะเท่าคนอื่น” ตัดออกไปเลย! คนเราไม่เท่ากัน บุญบารมี