Page 275 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 275

257
บอกตัวเองได้ บอกกับคนอื่นได้ บอกตัวเองได้เมื่อไหร่ก็จะบอกกับคนอื่น ได้ ถ้าบอกกับตัวเองไม่ได้ก็เล่าให้คนอื่นฟังยาก แม้แต่บางอย่างเราบอกกับ ตัวเองได้แล้ว ยังบอกกับคนอื่นยากเลย ถ้าบอกกับตัวเองไม่ได้ บอกกับ คนอื่นก็เป็นเรื่องยากใหญ่ ถ้าเรารับรองตัวเองไม่ได้ เราจะให้คนอื่นรับรอง เราได้อย่างไร ?
ธรรมะที่บอกว่าเป็นปัจจัตตังนี่แหละ คือเรารู้ได้ด้วยตัวเราว่า จิตเรา เป็นอย่างไร ดีไม่ดีอย่างไร ถึงไหนนั้นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ดีอย่างไรนี่นักปฏิบัติ จะต้องรู้แน่นอน ไม่ดีอย่างไรทุกคนย่อมรู้แก่ใจตัวเองว่าเป็นอย่างไร ไม่ใช่ แค่ความเชื่อ เพราะฉะนั้น เมื่อเราพิจารณาอย่างนี้ เราจะตัดความรู้สึกที่ว่า เชื่อตาม ๆ กันมา เชื่อเพราะเขาว่าดี เชื่อเพราะเขาว่าไม่ดี เชื่อว่าต้องเป็น อย่างนั้นแหละ ถ้าท่านพูดอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนั้นแหละ อย่าเพิ่งเชื่อ! ให้ พิจารณาดี ๆ แล้วลองพิสูจน์ดูว่าเป็นอย่างไร
เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องจริงสาหรับชีวิตของเรา ไม่ใช่ เรื่องคนละส่วนกับโลก เป็นสิ่งที่เราต้องใช้กับโลกได้ จึงบอกว่าชีวิตของเรา คือก้อนธรรมะที่กาลังดาเนินอยู่ในโลกอันนี้ รูปนามขันธ์ ๕ คือก้อนของ ธรรมะที่กาลังดาเนินไปเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่ในโลกอันนี้ ไม่ใช่สิ่งอื่นใด พระพุทธเจ้าพูดถึงขันธ์ ๕ ก็คือรูปนามอันนี้นั่นเอง พูดถึงธรรมะก็พูดถึง เรื่องของขันธ์ ๕ ก็คือรูปนามอันนี้ ที่กาลังดาเนินไปเป็นไป ที่เราทุกข์หรือไม่ ทุกข์ ก็เพราะอาศัยรูปนามขันธ์ ๕ อันนี้แหละเป็นที่ตั้ง เป็นที่ยึด หรือเป็น ที่อาศัย
ถ้าเป็นที่อาศัย เราไม่ยึด เราก็จะเห็นว่าธรรมชาติของรูปนามขันธ์ ๕ จะเปลี่ยนไปอย่างไร เขาก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของเขา จิตของเราจะเสวย อารมณ์แบบไหน นั่นก็อยู่ที่ปัญญาของเราว่าเป็นไปในลักษณะอย่างไร การ ปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องจริง ธรรมะเป็นเรื่องพิเศษ ใครเข้าถึงก็จะรู้ว่าพิเศษ นอกเหนือจากที่เราจะคิดเอาได้ เป็นอะไรที่ว่าบางครั้งเข็มขัดเราสั้น คาดไม่


































































































   273   274   275   276   277