Page 283 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 283
265
สังเกตต่อว่าอาการเคลื่อนไหวของลมหายใจที่เกิดขึ้น รอบ ๆ อาการ ของลมหายใจเป็นความว่าง เป็นความเบา เป็นความสงบ หรือว่ามีรูปร่าง รองรับ ?
รูปร่างในที่นี้ก็คือว่า โดยปกติเราจะเห็นรูปของเราเป็นกลุ่มก้อน อย่างเช่นหายใจเข้าก็มีรูปร่างของท้อง ที่มีรูปร่างของท้อง.. ตรงนี้เขา เรียกว่ามีรูปร่าง แต่ถ้าเราสังเกตเห็นว่าลมหายใจเกิดขึ้นอยู่ในที่ว่าง ๆ ตรงนี้ก็เหมือนกับมีความว่างรองรับแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้เราไม่ต้องกังวล ความว่างรอบข้าง ให้ไปรู้อาการเกิดดับของลมหายใจที่อยู่ในความว่าง นั้นต่อไป ให้ความรู้สึกหรือจิตของเราเกาะติดกับอาการของลมหายใจไป ว่าเขาเปลี่ยนแปลงอย่างไร
คาว่า “เปลี่ยนแปลงอย่างไร” รวมถึงเกิดดับในลักษณะอย่างไรด้วย อาการเปลี่ยนแปลง ความเป็นอนิจจัง เห็นมีแล้วหมด เรียกว่าทุกขัง ลักษณะ ของความทุกข์ที่ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดแล้วต้องดับ หรือที่เรียกว่า ทุกขลักษณะ ไม่ใช่ความทุกข์ที่เกิดความไม่สบายใจ เป็นลักษณะที่เกิดขึ้น แล้วดับ เกิดขึ้นแล้วหมด มีแล้วหมด เพราะฉะนั้นเรามีเจตนาที่จะรู้ชัด ถึงลมหายใจ เวลาเรารู้ว่าเรากาหนดอาการเหล่านี้อยู่เมื่อไหร่ สติเราจะ อยู่กับปัจจุบัน แต่ไม่ใช่ว่าต้องพยายามยึดให้ลมหายใจนั้นมีรูปร่าง หรือ ยาวเท่ากันตลอด
ถ้าสมมติว่าเราเห็นลมหายใจเป็นเส้น เราก็ไม่ต้องว่าต้องเป็นเส้นต้อง ชัดเท่านี้ตลอด ถึงเรียกว่าดี ไม่ใช่ ให้รู้ไปเลย ยิ่งชัด เขาชัดแล้ว เขายัง เป็นเส้น จากเป็นเส้น เมื่อจิตเข้าไปเกาะปุ๊บเนี่ย จากเป็นเส้น เขาเปลี่ยน ยังไง ? เส้นนั้นยังยาวเท่าเดิม ? หรือสั้นกว่าเก่า ? หรือจะให้ละเอียดเร็ว ขึ้นก็คือ ให้จิตของเรา หรือเอาความรู้สึกหรือจิตเข้าไปข้างในเส้นนั้น อกี ทหี นงึ่ ในเสน้ นนั้ เขามอี ะไร จะมอี ยนู่ ะลกั ษณะของอาการของลมหายใจเขา จะเปลี่ยนไป อาจจะเป็นฝอย ๆ หรือว่าง ๆ เบา ๆ บาง ๆ บางลงละเอียดลง