Page 284 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 284
266
ตรงนี้เป็นการพิจารณารายละเอียดของลมหายใจ ดูการเปลี่ยนแปลงของ ลมหายใจ
เพราะฉะนั้นขณะที่เราเกาะติดไปเรื่อย ๆ สมมตินะ ขณะที่เราตาม ลมหายใจไปเรื่อย ๆ แล้วลมหายใจเบาลง น้อยลง หรือบางลง แต่ชัดเจน มากขึ้น ไม่ใช่เบาลงแล้วจิตเราสลัว อันนั้นสติอ่อน แต่ถ้าเบาลง รู้ชัดว่า เบามาก ๆ ใส เบา บาง แต่รู้ชัดนะ ตรงนี้สติดี แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลมหายใจ เบา แล้วเรารู้สึกเคลิ้มไปด้วย อันนั้นสติอ่อน เพราะฉะนั้นให้รู้ชัด เมื่อไหร่ ที่เบา ต้องรู้ชัดว่าเบา อย่ารู้สึกเบา.. เบา.. ลอย ๆ.. บาง ๆ.. แล้วรู้สึก เคลิ้ม ๆ สังเกต.. ถ้าเราเคลิ้มเมื่อไหร่ บรรยากาศข้างหน้าจะไม่ใส มันจะ สลัว ๆ ตรงนั้นเดี๋ยวก็หลับแล้ว หรือไม่ก็จะนิ่ง ๆ เฉย ๆ ไม่ตื่นตัว จะไม่ เห็นอาการอะไรเกิดต่อจากนั้น
แต่ถ้าเรารู้ชัดว่าลมหายใจเราบางเบาขนาดนี้ จางขนาดนี้ เล็กขนาดนี้ ใสแบบนี้ปุ๊บ จิตของเรา ความรู้สึกของเราข้างหน้ามันจะมีความสว่าง ความใส จิตจะมีความตื่นตัว อันนี้เรียกว่าสติดี เพราะฉะนั้นการกาหนด สภาวะทุกครั้ง จึงต้องรู้ชัดว่าเราตามรู้อะไร ตามรู้ลมหายใจเป็นอย่างงี้ อย่างงี้ ต่อไปจนเขาหมดไป สมมตินะว่า แต่ละคนเคยเจออยู่แล้วว่า พอดูไป สักพัก ลมหายใจหายไป พอลมหายใจหาย แล้วจะกาหนดอะไรต่อ ? อันนี้ คือปัญหาอย่างหนึ่ง
สิ่งที่ต้องสังเกตก็คือ เมื่อลมหายใจหายไปแล้ว จิตใจเราตรงนั้นรู้สึก อย่างไร ? พอลมหายใจหายแล้ว มันว่าง โล่ง โปร่ง เบา สงบ หรือตื้อ ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งจะปรากฏขึ้นแน่นอน อาจจะเป็นสลัว ๆ หรือสว่างข้างหน้า อันนี้จะเกิดขึ้นแน่นอน อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อลมหายใจหายไป ก็ให้นิ่ง ในความว่างตรงนี้ นิ่งในความรู้สึกที่ว่าง อีกอย่างหนึ่ง อันนี้อาจารย์พูดข้าม ไปนิดหนึ่ง จุดหนึ่งที่ต้องสังเกตก็คือว่า เมื่อลมหายใจหายไป จิตใจเรารู้สึก เป็นยังไง ? รู้สึกโล่ง รู้สึกว่าง รู้สึกเบา ส่วนมากเราจะบอกว่า พอว่างไปแล้ว