Page 286 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 286
268
อันนี้ขั้นตอนในลักษณะที่เรายังมีกาหนดได้ต่อ ๆ ไป ถ้ากาหนดอย่างนี้ กาหนดได้ มีสภาวะเกิดต่อเนื่องให้กาหนดแน่นอน
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า พอว่างแล้วจะง่วง พอว่างไม่มีอะไรกาหนด เริ่มมีความง่วงเข้ามา ที่นี้พูดประจา แต่เราทบทวนนะ พอง่วงเนี่ย เราต้อง สังเกต ความง่วงเกิดขึ้นมาแล้ว มาลักษณะยังไง ? อย่างเช่น ค่อย ๆ หนัก ค่อย ๆ ทึบ.. ทึบ.. ทึบ.. ลงมา บรรยากาศของความง่วงจะทึบ ๆ สลัว ๆ หรือมืด ๆ ถ้ามืดเลย แสดงว่าหลับแล้ว ใช่ไหม ? ถ้ามืดแล้วหลับแล้ว แต่ ถ้าเริ่มสลัวเนี่ย เริ่มเข้มขึ้นเนี่ย เริ่มง่วงมากขึ้น ๆ...
เพราะฉะนั้นวิธีแก้ความง่วง ถ้าขณะที่เรากาลังนั่งเจริญสติอยู่ ให้เอา ความรู้สึกเข้าไปที่ความง่วง เข้าไปในความง่วงนะ แล้วขยายความรู้สึกที่ สลัว ๆ ขยายมันให้กว้างออก ต้องขยายให้กว้างแบบไม่มีขอบเขต หรือไม่ เหลือเศษเลย ถึงแม้สลัวนิดหนึ่ง ก็ต้องเอาความรู้สึกเราเข้าไป แล้วก็ขยาย ให้กว้างไม่มีขอบเขต แต่ถ้าเราขยายแค่กว้างกว่าหัว รู้สึกสมองเราโล่งขึ้น ตื่นตัวนิดหนึ่ง แต่รอบ ๆ ยังทึบอยู่ สังเกตดี ๆ เราจะรู้สึกได้เลยว่า บางที สมองเราโล่งแล้วนะ เบาแล้ว แต่ว่ารอบๆนี่ยังทึบอยู่ ถ้าเราไม่ขยายต่อ พอกลับมาที่เดิม มากาหนดอาการ แป๊บเดียวก็จะกลับเข้ามา แล้วก็ง่วงต่อ ความง่วงเนี่ยเราบอกได้ถึงลักษณะของความง่วงว่าอยู่ตรงไหน มีลักษณะ ยังไง ตรงนี้เราถึงดับเขาได้
แต่ถ้าความง่วงเกิดจากร่างกายเรา รูปเราเพลียจริง ๆ เราก็ต้องพัก ไม่ต้องฝืนมาก พักแล้วรู้สึกว่าจิต รูปเรามีพลังขึ้น ได้พักผ่อน แล้วมากาหนด ดีกว่าที่จะทนนั่ง เพราะทนนั่งไป ปัญญาไม่เกิด รูปก็ล้า พักผ่อนก็กลาย เป็นว่าพักผ่อนไม่เต็มที่ ตื่นเช้าขึ้นมาก็ยังไม่สามารถทาได้ แต่ถ้าเราพักแล้ว รู้สึกตัวขึ้นมา ก็ดูต่อ ปฏิบัติต่อไป ตรงนั้นแหละ.. อันนี้คือ สภาวะที่เกิด ขึ้นและเกิดแน่นอน เพียงแต่ว่าช่วงไหนแค่นั้นเอง อันนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับ นักปฏิบัติทุกคน ถ้านักปฏิบัติจะรู้ชัด