Page 288 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 288

270
อาการเกิดดับ หรือไม่แยกระหว่างจิตของเรากับอารมณ์เหล่านั้น ถึงอยาก จะปล่อย ก็ปล่อยไม่ได้ ไม่อยากจะยึด แต่มันก็หนักอยู่ เราไม่อยากจะเก็บ เอาไว้ แต่ก็ยังหนักอยู่ นั่นคือยึดโดยอัตโนมัติเหมือนกัน เพียงแค่ความ อยากที่เกิดขึ้น มีเจตนาที่ดีแล้ว อยากจะดับไป อยากจะปล่อยวาง อันนี้ เป็นเจตนาที่ดี แต่ว่าถ้าจะปล่อยจริง ๆ ทายังไง ?
ถ้าอยากจะปล่อยให้เร็ว คือดับความรู้สึกว่าเป็นเรา ดับความรู้สึกว่า เป็นเรา ดับได้นะ ? ยังไม่แน่ใจ อืม.. ยังไม่แน่ใจ ลองดูนะ วิธีดับความ รู้สึก ดับตัวตน ดับยังไง ? ทาใจให้ว่างได้แล้วเนี่ย จริง ๆ ไม่ยากหรอก วิธีดับตัวตน ลองดู.. เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออกจากตัว รู้สึกเป็นไง ? ได้นะ ? เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออกจากตัวปุ๊บ รู้สึกว่าจิตใจเรา ? เบา พิสูจน์อย่างนี้ นี่คือข้อพิสูจน์ ถ้าเอาความรู้สึกว่าเป็นเราเข้ามาที่ตัวเมื่อไหร่ ลองดู หนักใช่ไหม ?
ทีนี้ลองพิสูจน์ดูว่า ทาไมอารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น เวลาเรารับรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขึ้นมา แล้วรู้สึกหนัก ? เพราะขณะนั้นนี่มีเราเป็นผู้รับ คาว่า “ความรู้สึกว่าเป็นเรา” เขาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เป็นความเคยชินที่เรา สั่งสมมาหลายภพชาติ อะไรก็ของเรา อะไรก็เราหมด พอมีเราเมื่อไหร่ ตรงนี้ แหละ ก็กลายเป็นความเคยชิน ได้ยินปุ๊บ มันไม่พอใจ มีเราขึ้นมา พอมี อารมณ์หนัก ๆ เข้ามากระทบ ก็มีเราขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นด้วยยึดอะไรก็ตาม ยึดความคิด ยึดความเห็น เขาเรียกทิฏฐิ ใช่ไหม ? ที่เขาเรียก “ทิฏฐิ” “ทิฏฐิ” คืออะไร ?
”ทิฏฐิ” ว่าด้วยองค์ธรรม คือปัญญา แต่ทิฏฐิอีกอย่างหนึ่งคือ ความ เห็น แต่ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดแล้ว เห็นผิด เห็นอะไรผิด ? เห็นผิด ตรงที่ว่า เห็นว่ารูปนี้เป็นของเรา เข้าใจผิด ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่ของเรา แต่ขณะนั้นความเห็นของเรารู้สึกว่าเป็นเรา เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถามว่าสติอ่อน สติอ่อน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เรารู้ว่า พอเราดับความรู้สึกว่าเป็นเราปุ๊บ ก็เป็นสัมมา


































































































   286   287   288   289   290