Page 289 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 289
271
ทิฏฐิแล้ว สัมมาทิฏฐิเกิด ความทุกข์ดับ เห็นตามความเป็นจริง ตรงนี้คือ ปัญญา องค์ธรรมของทิฏฐิก็คือปัญญานั่นเอง ว่าด้วยองค์ธรรมก็คือ ปัญญา ปัญญาที่จะรู้แนวทาง รู้ถึงความดับทุกข์ รู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ รู้ว่า ทุกข์ รู้วิธีดับทุกข์ พอดับความเป็นตัวตน ความทุกข์ดับ
ที่นี้เมื่อความทุกข์ดับไป ทาอย่างไรจิตของเราถึงจะมีกาลังมากขึ้น ? ตรงนี้.. พอทุกข์ดับ จิตเรากลายเป็นอุเบกขา เฉย ๆ แต่เบา ก็จะเบาขึ้น ก็จะอุเบกขา เพราะฉะนั้นวิธีทาให้จิตเราพ้นจากอุเบกขาก็คือ เมื่อเบาแล้ว ขยายจิตเราให้กว้าง ให้ความเบากว้างขึ้น แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือเติมความ เมตตา เพิ่มเมตตาด้วยความอ่อนโยน หรือนึกถึงบุญที่เราเคยทา แผ่เมตตา ไป ก็จะทาให้ความรู้สึกหรือจิตเรามีรสชาติที่ดีขึ้น เมตตาธรรมตรงนี้ ความ สุขตรงนี้ ถามว่าจะทาให้เราติดไม่ติด ?
ถ้าแม้แต่มีความสุข ก็เหมือนความว่างแหละ แม้แต่มีความสุข ก็พิจารณา เป็นความสุขที่มีเราเป็นผู้สุข หรือแค่รู้สึกสุข เป็นความสุขที่ ไม่มีตัวตน ลองดูนะ ถ้าเป็นความสุขที่ไม่มีตัวตน กาลังเขาเป็นยังไง ? ความสุขที่ไม่ใช่เราสุข เหลือแต่ความสุขอย่างเดียว เหลือแต่จิตที่สุข อย่างเดียว ให้เต็มท้องฟ้า ให้เต็มอาคาร ให้เต็มศาลาเลย ลองดูสิ รู้สึก เป็นยังไง ? ไม่ต้องกลัวติด ถ้าอย่างนี้ไม่ติดแน่นอน เพราะแม้แต่ความสุข ก็มีการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นความสุขที่เราสามารถสร้างประโยชน์ต่อได้ คน ที่มีเมตตา คนที่มีความสุข สมาธิจะเกิดได้ง่าย สมาธิจะตั้งอยู่ได้นาน ถ้าเราเพิ่มเมตตาเข้าไป มีความสุขเมื่อไหร่ สมาธิก็จะตั้งอยู่ได้นาน ไม่วุ่นวาย ง่าย ๆ
อาจารย์เคยพูดเสมอว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีความสุข โทสะจะไม่เกิด โทสะเกิดยาก คนที่มีความสุข เมื่อมีอารมณ์กระทบ โทสะเกิดยาก โทสะ จะเกิดง่ายต่อเมื่อบุคคลนั้นอยู่ในอุเบกขา วางเฉย แล้วแคบ ถ้าจิตเรา เฉย ๆ แคบ ๆ เฉพาะตัว อะไรมากระทบเนี่ย อย่ามายุ่งเลยนะ ถ้าเฉย ๆ