Page 290 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 290

272
เนี่ย อย่ายุ่งนะ เพราะฉะนั้นนี่ วิธีก็คือ ถ้าเฉยแล้ว อย่าเฉยอย่างเดียว ให้เฉยกว้าง ให้จิตที่เฉยกว้าง แล้วเพิ่มความสุขไปด้วยจะดีมาก ๆ เอาจิต ที่ว่างที่มีความสุขมาใช้งาน รับรู้สิ่งต่าง ๆ อารมณ์ที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ต่อไป ตรงนี้คือเอาจิตที่ว่างและมีความสุขมาใช้งานต่อ ถ้าทาได้ อย่างนี้ เราก็จะอยู่กับการปฏิบัติต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ อย่ากังวลว่าอิริยาบท ย่อย หรือตอนนอน ตอนนั่ง หรือตอนเดิน ไม่ต้องห่วง เพราะเป้าหมาย ของเราคือทายังไงจิตเราเป็นอย่างนี้ ให้จิตเราเป็นอย่างนี้ เพราะเราต้องการ ทาจิตให้ว่าง ไม่ใช่แค่รู้อาการ
และอีกอย่างหนึ่ง เมื่อจิตว่างแล้ว เป้าหมายของการปฏิบัติก็คือ รู้อาการเกิดดับ เพราะฉะนั้นอาการเกิดดับที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะอาศัยอารมณ์ อะไรก็ตาม ให้เราพอใจที่จะรู้ลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเขาแค่นั้นเอง อย่ากังวลว่าเสียงเกิดมา กาหนดเกิดดับไม่ได้เลย กาลังกาหนดอาการ เดินอยู่ พอเสียงดังขึ้นมา เสียงรบกวน แล้วเราก็ไม่สามารถกาหนดอาการ เกิดดับของการเดินได้ แต่เป็นเสียงรบกวน ที่จริงแล้ว ขณะนั้นเสียงเป็น อธิบดี เสียงมีกาลังมากกว่า ถ้าเดินแล้ว กาหนดการเดินไม่ได้ ให้หยุด แล้ว ไปรู้อาการเกิดดับของเสียงแทน เสียงก็จะเป็นอารมณ์กรรมฐานอย่างหนึ่ง เอาเสียงมาเป็นอารมณ์กรรมฐานเสีย รู้การเกิดดับของเสียง อันนั้นเสียง ก็จะไม่รบกวนแล้ว กลายเป็นว่าเป็นผลดีกับเรา อันนี้คืออยู่ที่เจตนาของ เราเอง
อย่างเช่นพอเรานั่งแล้วมีความคิด นั่งปุ๊บความคิดเยอะแยะไปหมด เริ่มจากตรงไหนดี ? ปกติเคยนั่งแล้วเงียบ นั่งแล้วสงบ แต่วันนี้นั่งแล้ว กาหนดอะไรไม่ได้เลย เดี๋ยวก็เรื่องโน้นเรื่องนี้เยอะแยะมากมาย วิธีสังเกต ก็คือ ให้หยุดนิ่งก่อนนิดหนึ่ง ไม่ต้องนิ่งนาน ไม่ต้อง ๕ นาที ๑๐ นาที แค่เรา นิ่งปุ๊บ นิ่ง สังเกตดี ๆ แค่อึดใจหนึ่ง พอเรานิ่งดูความคิด สังเกตว่าใจเรา กับเรื่องที่คิดเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน ให้สังเกตแบบนี้ ให้สังเกตนะ


































































































   288   289   290   291   292