Page 291 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 291
273
แต่ไม่ใช่บังคับ แค่เราสังเกต เราจะเห็นว่าเรื่องที่คิดกับจิต เป็นคนละส่วน พอเป็นคนละส่วนแล้วทายังไงต่อ ?
พอเป็นคนละส่วน ก็มาดูที่จิตเราต่อว่า ขณะที่เป็นคนละส่วน จิตเรา รู้สึกเป็นไง ? สงบขึ้นไหม ? พอสงบขึ้น นิ่งขึ้น เราก็ค่อย ๆ ขยับจิตเรา ให้กว้างขึ้นกว่าเรื่องที่คิด ยังไม่ต้องปฏิเสธความคิด แต่ให้จิตเรากว้างกว่า เรื่องที่คิด พอกว้างขึ้น กว้างขึ้น ต่อไปความคิดก็จะถอยออกไป ต่อไปก็ กาหนดความคิด แล้วพอใจที่จะรู้ว่าเรื่องนี้ขึ้นมาดับแบบนี้ ภาพนี้ขึ้นมา หายอย่างนี้ ตรงนี้มาแล้วดับแบบนี้ นั่นคือพอใจที่จะรู้การเกิดดับของ ความคิด พอใจที่จะรู้ความไม่เที่ยงของสัญญา พอใจที่จะรู้อาการเกิดดับ ของสังขาร คือการปรุงแต่งด้วย
จิตที่ปรุงแต่งเขาเรียกจิตตสังขาร เดี๋ยวคิดโน่นคิดนี่ ถ้าสัญญาก็.. นั่ง ๆ เดี๋ยวเรื่องในอดีตโผล่ขึ้นมา.. โผล่ขึ้นมา.. นั่นเป็นตัวสัญญา แต่พอ เรื่องราวในอดีตปรากฏขึ้นมา เราปรุงแต่งต่อ ตรงที่ปรุงแต่งต่อเป็นตัว สังขาร ถ้าจะเป็นเรื่องราวที่ผ่านมาตอนกลางวันเนี่ย เขาเรียกเป็นสัญญา ขึ้นมาแล้ว รู้แล้ว เขาดับอย่างไร ? ดับยังไงตรงนี้ นั่นน่ะรู้อาการเกิดดับ ของสัญญาหรือสังขาร พอรู้อาการเกิดดับไปเรื่อย ๆ ตรงนี้เป็นการเห็น ความไม่เที่ยง เขาเรียกเป็นการกาหนดรู้อาการพระไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นสภาวะที่เราต้องกาหนดรู้ ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องปฏิเสธ
ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกาหนดรู้ สมุทัยเป็นสิ่งที่ต้องละ มรรคเป็นสิ่งที่ ต้องเจริญ นิโรธเป็นสิ่งที่ต้องทาให้เกิดขึ้น อริยสัจ ๔ มีแค่นี้ ทุกข์ รู้แล้ว ก็ต้องใช้มรรคต่อเลย ไม่ใช่รู้ทุกข์อยู่นาน ๆ ใช่ไหม ? เพราะทุกข์อยู่นาน เราก็ทุกข์นาน ถ้ารู้ว่าเป็นทุกข์ เราก็ดับเสีย นิโรธจะได้เกิดทันที ใช่ไหม ? นิโรธจะได้เกิดต่อ ชั่วขณะหนึ่ง อย่างเช่น เวลาเราไม่สบายใจ เขาเรียกว่าทุกข์ พอรู้ว่าไม่สบายใจ ถ้าเรากาหนดและดับได้ พอความทุกข์ดับ นิโรธก็เกิด เขาเรียกว่าขณิกะ ชั่วขณะหนึ่งความสุข รู้ว่าทุกข์ มรรคก็คือการเอาความ