Page 31 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 31
13
ต่าง ๆ ได้ไหม ? ได้นะ
สังเกตต่อนะ ที่ถามว่า ความรู้สึกที่เบาเป็นจิตของเราหรือเปล่า ? อัน
นี้สาคัญมาก ๆ เพราะเวลาเรานั่งสมาธิแล้ว บางครั้งเวลารู้สึกเบาขึ้นมา ไม่รู้ อะไรเบา แล้วเอาความเบานี่ไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง แล้วเราก็จะรอแต่นั่ง สมาธิ เมื่อไหร่มันจะเบาเหมือนเดิม ? เมื่อไหร่จะว่างเหมือนเดิม ? บางครั้ง จึงเกิดความรู้สึกว่าเวลาปฏิบัติแล้ว พอไม่เจอความเบา ไม่เจอความว่าง ก็จะ รู้สึกว่าตัวเองปฏิบัติไม่ได้ เพราะฉะนั้น วิธีที่จะทาให้จิตเราว่าง ก็คือให้จิตเรา กว้างกว่าตัว
ลองสังเกตอีกทีนะ จิตที่เบาว่างและกว้างนั้น เขาบอกว่าเป็นใคร หรือเปล่า ? ไม่บอกนะ ลองดูนะ ย้อนกลับมาอีกนิดหนึ่ง ให้จิตที่เบาว่างนี่ ย้อนกลับมาดูตัวที่นั่งอยู่ ลองดูว่าตัวที่นั่งอยู่ บอกไหมว่าเป็นใคร ? ไม่ต้อง เข้ามาข้างในตัว แค่ย้อนกลับมาดูตัวที่นั่งอยู่ บอกว่าเป็นใครหรือเปล่า ? ไม่ บอก ขณะที่ไม่บอก ตัวรู้สึกหนักหรือเบา ? เบานะ
ขณะที่เห็นว่าจิตไม่บอกว่าเป็นใคร ตัวไม่บอกว่าเป็นใคร จิตใจรู้สึก สงบหรือวุ่นวาย ? (โยคีกราบเรียนว่า สงบ) นี่คือสมาธิ สังเกตไหม จิตก็ไม่ บอกว่าเป็นเรา ตัวก็ไม่บอกว่าเป็นเรา ตรงนี้เรียกว่าอะไร ? “อนัตตา” ความ ไมม่ ตี วั ตนปรากฏขนึ้ มา เมอื่ ไหรก่ ต็ ามทเี่ ราเหน็ ถงึ ความไมม่ ตี วั ตนของรปู นาม อันนี้ สังเกตดูว่าสภาพจิตใจจะเป็นอย่างไร ? รู้สึกเบา รู้สึกโล่ง ถูกแล้วนะ
ทีนี้ “วิธีดูสภาพจิต” ขณะที่เห็นว่าจิตเบาโล่ง ต่อไปเพิ่มอีก ลองดูนะ ให้จิตที่เบาโล่งนี่กว้างเท่าท้องฟ้าไปเลย และให้ดูจิตที่กว้างเท่าท้องฟ้า รู้สึก ยังไง ? ยิ่งเบานะ รู้สึกดีไหม ? เพราะฉะนั้น เวลาเราเจริญกรรมฐาน มีเพื่อน โยคีเยอะ ๆ ถ้าเราปล่อยใจเราให้ว่างไม่มีขอบเขต ลองดูรอบ ๆ ตัวเรารู้สึก ยังไง ? นั่งอยู่ที่ไหน ? นั่งอยู่ในความว่าง นั่งอยู่ในที่เบา ๆ นั่งอยู่ในที่โล่ง ๆ หรือ นั่งอยู่ที่ไหน ? นั่งอยู่ในที่ว่าง รู้สึกดีไหม ? ดีนะ นี่แหละเขาเรียก “ความเป็นอนัตตา”